อนาคตภาพการบริหารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 - 2564 )

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา หยงสตาร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเลขานุการ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การบริหาร, วิทยาลัยอิสลามศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 - 2564) ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การผลิตบัณฑิต 2) การวิจัย 3) การบริการทางวิชาการแก่สังคม 4) การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5) การพัฒนานักศึกษาและกิจการนักศึกษา และ 6) การบริหารและจัดการเป็นการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ใช้แบบสัมภาษณ์ให้ผู้เชี่ยวชาญตอบจำนวน 17 ท่าน และนำแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์เพื่อนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับผู้เชี่ยวชาญตอบในรอบที่ 2 และ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 – 2564) ใน 6 ด้าน มีได้ดังนี้

  1. ด้านการผลิตบัณฑิตควรส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิตให้มีจิตสำนึกสาธารณะ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีภาวะผู้นำพร้อมเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมพหุวัฒนธรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  2. ด้านการวิจัย ควรศึกษาวิจัยในเชิงสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม เช่น หลักสูตรบูรณาการ วิทยาศาสตร์อิสลาม ธุรกิจอิสลาม อิสลามกับเทคโนโลยี เป็นต้น
  3. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ควรส่งเสริมและนำผลการดำเนินงานจากการบริการวิชาการแก่สังคม มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่ชัดเจนโดยการศึกษาจุดแข็งจุดอ่อน สำรวจความต้องการของสังคมเพื่อจะได้พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ขยายการบริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เป็นแหล่งข้อมูลอิสลามที่ครบทุกสาขา เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามแก่ชุมชน และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันด้านปอเนาะให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
  4. ด้านการทำนุศิลปะและวัฒนธรรม ควรทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคม โดยไม่ขัดกับหลักการอิสลาม เช่น วัฒนธรรมความร่วมมือในการประกอบอาชีพ การปฏิบัติศาสนกิจในเทศกาลสำคัญๆ เป็นต้น
  5. ด้านการพัฒนานักศึกษาและกิจการนักศึกษา ควรพัฒนาห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การศึกษาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านวิชาการ ภาษา และทักษะการใช้เทคโนโลยี สนับสนุนการศึกษาต่อของนักศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ออกแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ มีความรู้  มีภาวะผู้นำ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม มีบุคลิกภาพที่เป็นอัตลักษณ์ของวิทยาลัย โดยเฉพาะความเป็นมุสลิมที่ดี มีการแต่งกายและมีมารยาทที่ดีเหมาะสมกับแนวทางอิสลามและของประเทศไทย  ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มศึกษา (หัลเกาะฮฺ) เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านคุณธรรมจริยธรรม การเรียนและการใช้ชีวิต  และส่งเสริมให้นักศึกษามีความเป็นสากลตามแบบอิสลาม มีความกล้า มีความเชื่อมั่น เข้าหากับกลุ่มคนได้ทุกศาสนา
  6. ด้านการบริหารและจัดการ ควรนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและจัดการอย่างเคร่งครัดและจริงจังอย่างต่อเนื่อง  มุ่งเน้นหลักจริยธรรมและคุณธรรมแบบอิสลามมาเป็นเอกลักษณ์และธรรมาภิบาลในการกำกับควบคุมองค์กร เร่งรัดให้มีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรเพื่อลดรายจ่าย  แต่ต้องเน้นความถูกต้อง เหมาะสม คล่องตัว  โปร่งใส และตรวจสอบได้  ควรปรับปรุงหลักสูตร การศึกษาในแต่ละสาขาวิชาให้ทันสมัยอยู่เสมอและเพิ่มหลักสูตรที่เป็นความต้องการของสังคม และควรตระหนักในเรื่องค่านิยมศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องความซื่อสัตย์ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่

References

จิรพรรณ พึ่งบุญ ณ อยุธยา. 2547 แนวโน้มการจัดการศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลป ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554) วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (สำเนา)

นิเลาะ แวอุเซ็ง. 2540. แนวโน้มการบริหารของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2540 – 2549). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สำเนา)

ภัทรธิรา ผลงาม. 2552 . อนาคตภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2552 – 2562) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (สำเนา)

ภาวิช ทองโรจน์ . ม.ป.ป.สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา (ออนไลน์). สืบค้นจาก: www.dusit.ac.th/course/standard/No-3. pdf 12 กุมภาพันธ์ 2556.

วิทยาลัยอิสลามศึกษา. 2553. รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษาและปีงบประมาณ 2552.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. 2550. อนาคตภาพที่เป็นไปได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามในทศวรรษหน้า วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (สำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (สำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). (สำเนา)

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

อะหฺมัด อิบรอฮีม อบูซิน 2553. การบริหารจัดการในอิสลาม . แปลจาก Islamic Management . โดย ฮาเร๊ะ เจ๊ะโด. สงขลา : ไอคิว มีเดีย.

Ali Mohammad Jubran Saleh.2551. การบริหารการศึกษาในอิสลาม. แปลจาก Education Administration: An Islamic Perspectives โดย นิเลาะ แวอุเซ็ง. ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2015

How to Cite

หยงสตาร์ ส. (2015). อนาคตภาพการบริหารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 - 2564 ). วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(1), 123–141. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/144875