สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ยีหวังเจริญ นักศึกษาปริญญาโท (สาขาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม) วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิเลาะ แวอุเซ็ง วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้  2)  ศึกษาระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้  และ 3) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก   ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ  โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 500 คน  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 100 คน  ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบุคลากร  กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและศึกษาเปรียบเทียบระดับสมรรถนะ  จำนวน 400 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบุคลากร  และครูผู้สอน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบประเมินสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

            ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น องค์ประกอบด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และองค์ประกอบด้านการมีวิสัยทัศน์ การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า χ2/df = 1.407, GFI = .95, AGFI = .93, CFI = .99, RMSEA = .032, และ SRMR = .025 ส่วนระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก   ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีระดับสมรรถนะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2548. ที่ ศธ 0206.3/ ว 25. หนังสือราชการเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. วันที่ 29 ธันวาคม 2548.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และคณะ. 2550. การจัดการศึกษาตามวิถีอิสลามเพื่อบูรณภาพสังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

นาเซร ยับนาน. 2548. อิสลามและการจัดการ. แปลจาก Islam and Management โดย นิเลาะ แวอุเซ็ง. ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี .

นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น LISREL สถิติวิเคราะห์สำหรับการทาง สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. 2550. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency.กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา

ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. 2550. แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency.กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา

ไพบูลย์ ไชยเสนา. 2551. สมรรถนะด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:http://paiboonpron 1959. spaces.live.com/blog/(20 สิงหาคม 2553).

พรพิศ อินทะสุระ. 2551. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2549. ข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม. ยะลา.

ยิ่งยศ พละเลิศ. 2550. สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรชา ชูสุวรรณ . 2552. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
วันทนา เมืองจันทร์ 2542 วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ วันทิพย์

ศิริจันทร์ พลอยกระโทก. 2551. สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. 2542. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺ อัลมุเนาวะเราะฮฺ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 2548. พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. 2548. คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อนันต์ นามทองต้น. ม.ป.ป. สมรรถนะ (Competency): พลังแห่งการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2.

อลี โมฮัมมัด ญุบรอน ซอและห์. 2551. การบริหารการศึกษาในอิสลาม. แปลจาก Education Administration: An Islamic Perspectives โดย นิเลาะ แวอุเซ็ง. ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อะหฺมัด อิบรอฮีม อบูซิน. 2553. การบริหารจัดการในอิสลาม. แปลจาก Islamic Management . โดย ฮาเร๊ะ เจ๊ะโด. สงขลา : ไอคิว มีเดีย.

`Alwi ibn `Abd al-Qãdir al-Sãqqof .n.d. al-Mowsúàh al-Hadithiyyah Taisîr al-Wusul ila Ah.adíth al-Rosúl . (الموسوعة الحديثية تيسير الوصول الى احاديث الرسول ). (Online), Accessed 13 June 2010 a vailable from http://www.dorar.net/enc/ hadith/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-09-2018

How to Cite

ยีหวังเจริญ ส., & แวอุเซ็ง น. (2018). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(1), 102–122. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/144872