แนวโน้มการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด ในทศวรรษหน้า (2557 - 2566)
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด ในทศวรรษหน้า (2557 - 2566) ในขอบข่ายเนื้อหา 6 ด้าน คือ วัตถุประสงค์ โครงสร้างและการจัดองค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การให้บริการสมาชิก การจัดสวัสดิการสมาชิก การสร้างความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ เป็นการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 ท่าน วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสำหรับผู้เชี่ยวชาญตอบในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด ในทศวรรษหน้า (2566 - 2557) ในขอบข่ายเนื้อหา 6 ด้าน สรุปได้ดังนี้
- วัตถุประสงค์ ส่งเสริมให้สมาชิกตระหนักถึงระบบการเงินที่ปลอดดอกเบี้ย ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและสังคม การประกอบอาชีพแบบกลุ่ม และร่วมมือกับสหกรณ์ในอาเซียนโดยมุ่งเน้นคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม ใช้เทคโนโลยีและทุนไม่สูง รวมทั้งดำเนินธุรกิจด้านสถานศึกษา
- โครงสร้างและการจัดองค์การ จัดโครงสร้างองค์กรในแนวราบเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการทำงาน ให้มีรองผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ส่วนสาขาที่มีขนาดใหญ่ควรแยกเป็นสาขาใหม่
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ควรมีระบบการคัดเลือกบุคคลที่ชัดเจน พัฒนาพนักงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานขององค์กร นำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งพัฒนาพนักงานให้มีประสิทธิภาพ ประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม และให้สวัสดิการแก่พนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาให้พนักงานอยู่ในองค์กรได้นานขึ้น
- การให้บริการสมาชิก ลดขั้นตอนการบริการให้สั้นลงให้ทัดเทียมกับสถาบันการเงินทั่วไป พนักงานจะต้องให้บริการแก่สมาชิกอย่างเต็มศักยภาพและรวดเร็ว มีจิตสาธารณะ ให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก และสามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่นๆ ได้อย่างมีคุณภาพ
- การจัดสวัสดิการสมาชิก ให้สวัสดิการแก่สมาชิกอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบของการให้สวัสดิการตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต จัดสวัสดิการการประกันภัยในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักชะรีอะฮฺ อีกทั้งควรปรับปรุงระยะเวลาในการรับเงินสวัสดิการให้สั้นลง
- การสร้างความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับสหกรณ์ต่างๆ ทั้งในประเทศและในประชาคมอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ การพัฒนาคุณภาพบุคลากร ตลอดจนการผลักดันกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อให้สหกรณ์สามารถทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ และสร้างความสัมพันธ์อย่างดีกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ
References
ปรีดา ประพฤติชอบ. 2549. โครงการแนวทางการพัฒนาเครือข่าย/กลุ่มองค์กรประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (ม.ค. – มี.ค. 49).
สรายุทธ โตพันธ์. 2553. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรเมืองเลย จำกัด. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สฤษฎ์ สมิทจิต. 2549. การพัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำกัด ในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด. 2554. รายงานกิจการประจำปี 2554.
___________. 2553. คู่มือสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด. ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหกรณ์.
อับดุลรอชีด เจะมะ. 2550. สวัสดิการสังคมวิถีอิสลาม. ศูนย์สนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง (ศปลร.).กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2544. การจัดการและแนวทางการพัฒนาสหกรณ์โคนมในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร กรณีศึกษาสหกรณ์โคนมน้ำพอง จำกัด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมควร วิบูลเชื้อ. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์อิสลามด้วยเครื่องมือทางการเงิน กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน จำกัด. (ระบบออนไลน์). สืบค้นจาก : www.cad.go.th/cadweb_org/ewt _dl_link.php?nid=14891. (8 มกราคม 2556).
Sayyid Sabiq. 1998. Fiqh al-Sunnah. Beirut: Dar al-Fikr.
Syed Othman al-Habsyi dan Hamiza Ibrahim. 1998. Pengurusan dan Pentadbiran Mencapai Kecemerlangan Melalui Penghayatan Nilai. Institut Kefahaman Islam Malaysia (IKIM).
Wahbah al-Zuhaili. 2002. Fiqh dan Perundangan Islam Jilid 4. Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา