การพัฒนาเครื่องมือประเมินตามสภาพจริงในวิชาการวัดและ ประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คำสำคัญ:
การประเมินตามสภาพจริง , เครื่องมือการประเมินตามสภาพจริงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงและศึกษาผลการใช้เครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริงในวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ลงทะเบียนเรียนในรหัสวิชา 1042201 ชื่อวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา 1 หมู่เรียน จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใบกิจกรรม และแบบประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคล การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ ชุดฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ หาคุณภาพโดยใช้ดัชนี E1/E2 ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) วิเคราะห์ด้วยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) คุณภาพรายข้อของแบบทดสอบ วิเคราะห์ค่าความยาก (P = R/N) และอำนาจจำแนกโดยใช้เทคนิค 27% ของจุงเตฟาน ค่าความเที่ยง (Reliability) คำนวณด้วยสูตร Kuder-Richardson (KR-20) และความเที่ยงของการให้คะแนน วิเคราะห์ด้วยวิธี Rater Agreement Index (RAI)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างเครื่องมือการประเมินตามสภาพจริง ใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ใบกิจกรรม มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) อยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) ของการให้คะแนนใบกิจกรรมที่ 1 ถึง 5 หาด้วยวิธี Rater Agreement Index (RAI) อยู่ระหว่าง 0.92 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ทั้ง 5 ชุด อยู่ระหว่าง 0.62 ถึง 1.00 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.86 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.77 และค่าความเที่ยง (Reliability) (KR-20) แต่ละชุดอยู่ระหว่าง 0.78 ถึง 0.89 แบบประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคล ทั้ง 7 ด้าน มีค่าความเหมาะสมระหว่างระดับคะแนนกับเกณฑ์การประเมิน อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) ของเกณฑ์การให้คะแนนด้วยวิธี Rater Agreement Index (RAI) อยู่ระหว่าง 0.95 ถึง 1.00 2) ผลการใช้เครื่องมือการประเมินตามสภาพจริงที่พัฒนาขึ้น โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) ผ่านชุดฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้และใบกิจกรรม พบว่า ด้านทักษะการเรียนรู้ นักศึกษาแสดงพัฒนาการที่อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น และชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาความสามารถในการวัดผลที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพด้านความรู้ พบว่า นักศึกษาแสดงความก้าวหน้าในทุกครั้งของการทดสอบ ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นและสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาทุกคนมีความตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับหมาย มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
References
จินตวีร์พร แป้นแก้ว, บุษยา สังขชาติ, นวพร ดำแสงสวัสดิ์ และ เทิดศักดิ์ นำเจริญ. (2562). การประเมินตามสภาพจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 22-33.
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, วีณา วโรตมะวิชญ และ เสาวนิตย์ เจริญชัย. (2562). การประเมินตามสภาพจริงของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 407-428.
รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ ยืนนาน, กนกวรรณ เอี่ยมชัย และ พิมลพรรณ เนียมหอม. (2563). การประเมินผลตามสภาพจริงในการเรียนรู้ออนไลน์: ก้าวสู่การประเมินผลการเรียนหลายรูปแบบสู่ความสำเร็จของผู้เรียน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(3).
สําราญ กําจัดภัย. (2559). การประเมินตามสภาพจริงในชั้นเรียน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 23(8), 237-245.
วิเชียร อินทรสมพันธ์, ปราณีต ม่วงนวล, และณัฐมน พันธ์ชาตรี. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงด้วยแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาครู. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 12(2), 108-118.
Bakar, E. W., & Sulaiman, F. (2023). Vision to action: Exploring online reader’s theatre as an alternative assessment tool. European Proceedings of Educational Sciences. Form https://doi.org/10.15405/epes.23097.5.
Kong, S. C., & Yuen, C. N. (2022). An analysis of the attitudes and behaviours of university students and perceived contextual factors in alternative assessment during the pandemic using the attitude-behaviour–context model. Heliyon, 8(10). Form https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e11180.
Koonkaew, A. (2022). Test new approaches to measurement and evaluation of education. Bangkok: Chulalongkorn University.
Murphy, V., Fox, J., Freeman, S., & Hughes, N. (2017). “Keeping It Real”: A review of the benefits, challenges and steps towards implementing authentic assessment. All Ireland Journal of Higher Education, 9(3). Form https://ojs.aishe.org/index.php/aishe-j/article/view/280.
Ritjaroon, P. (2021). Learning measurement and evaluation techniques. Bangkok: Chulalongkorn University.
Sotiriadou, P., Logan, D., Daly, A., & Guest, R. (2020). The role of authentic assessment to preserve academic integrity and promote skill development and employability. Studies in Higher Education, 45(11), 2132–2148.
Sutadji, E., Susilo, H., Wibawa, A. P., Jabari, N. A., & Rohmad, S. N. (2021). Authentic assessment implementation in natural and social science. Education Sciences, 11(9), 534.
Vlachopoulos, D., & Makri, A. (2024). A systematic literature review on authentic assessment in higher education: Best practices for the development of 21st century skills, and policy considerations. Studies in Educational Evaluation, 83, 101425. form https://doi.org/10.1016/j.stueduc.2024.101425.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.