การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดด้วยการกำหนดระยะพ้นมลทินของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์เกียรติ วาณิชวัฒนากุล สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)กรุงเทพมหานคร 10200

คำสำคัญ:

ระยะพ้นมลทิน , ประวัติอาชญากรรม , กระบวนการยุติธรรม

บทคัดย่อ

การมีระยะพ้นมลทินที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดภายหลังการพ้นโทษ ที่เป็นการให้โอกาสกับผู้พ้นโทษได้กลับไปดำเนินชีวิตตามปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการมีระยะพ้นมลทินที่เหมาะสมกับระเทศไทยที่จะเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในรูปแบบของการคงไว้ซึ่งประโยชน์สาธารณะและไม่เสียความเป็นธรรม เป็นจุดสมดุลสำหรับการมีระยะพ้นมลทินที่เหมาะสมกับประเทศไทย ส่งผลต่อความสำเร็จในการคืนคนดีสู่สังคม แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการมีประวัติอาชญากรรมและลดผลกระทบของการมีประวัติอาชญากรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักสัดส่วนจนเป็นข้อจำกัดของการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่ส่งผลให้ผู้ที่สมควรได้รับโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ภายหลังการพ้นโทษไม่สามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคทางอคติในเชิงลบจากสังคม การถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม การต้องอยู่กับความรู้สึกของการมีตราบาปติดตัวไปโดยตลอดซึ่งเป็นผลของภูมิหลังที่เคยได้ทำผิดพลาดไว้ งานวิจัยนี้จะเป็นการอธิบายให้รัฐและสังคมได้เข้าใจในเรื่องการมีระยะพ้นมลทินที่เป็นการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดภายหลังการพ้นโทษ เป็นการพัฒนาหลักการมีประวัติอาชญากรรมที่เชื่อมโยงกับคุณค่าทางสังคมซึ่งแสดงออกในรูปแบบของสำนึกร่วม (Collective Conscience) ผ่านการนำเสนอแนวคิด “การกลับสู่สภาพปกติเมื่อสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม” หรือที่เรียกว่า Restorative Choice Theory in Justice Administration Law ซึ่งเป็นแนวคิดการมีกระบวนการยุติธรรมที่มอบโอกาสหรือทางเลือกในชีวิตให้กับผู้พ้นโทษด้วยการมีเป้าประสงค์ที่สร้างโอกาสให้กับทางเลือกชีวิตที่เหมาะสมต่อผู้พ้นโทษที่เอื้อต่อการเติบโตและดำเนินชีวิตที่เป็นปกติ และการสร้างความสมดุลของกระบวนการยุติธรรมที่เคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์

References

เศรษฐา ทวีสิน (ปาฐกถาพิเศษ). (2567). เวทีสาธารณะด้านหลักนิติธรรม (The Rule of Law Forum). วันที่ 5 มกราคม 2567. กรุงเทพฯ: สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(TIJ).

ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. สำนักพิมพ์วิญญูชน, 81 – 84.

กองกฎหมายกระบวนการยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2566). หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา. สืบค้น 18 มีนาคม 2566, จาก http://web.krisdika.go.th/data/outsitedata/article77/filenew/10.1.pdf.

วีระ โลจายะ. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 15 – 18.

แวคส์ เรย์มอนด์. (2564). ปรัชญากฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์บุ๊คสแคป, 167–168.

ศิรสา พูลสนอง. (2543). การล้างมลทินในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต นิติศาสตรมหาบัณทิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25–27.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย: TIJ. (2563). ผู้หญิงในคุก ชีวิตคนหรือสูตรสมการ. สืบค้น 20 เมษายน 2566, จาก https://knowledge.tijthailand.org/th/article/detail/17.

สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์. (2558). แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย. (นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์, 145–146.

C.L. Ten. (1978). Crime, Guilt and Punishment. Oxford: Basil Blackwell, 217–218.

Herbert L Packer. (1979). The Limits of the Criminal Sanction California. Stanford University Press, 36 – 39.

Latessa, Edward J. Listwan, Shelley L. and Koetzle Deborah. (2015). What Works (and doesn’t) in Reducing Recidivism. Kindle ed. London: Routledge.

Prison Fellowship International. (2008). Restorative Justice briefing paper, Washington. DC: Center for justice&Reconciliation.

Draft Statutory Instruments. (2013). The Rehabilitation of Offender Act 1974 (Exceptions) Order 1975 (Amendment) (England and Wales) Order 2013.

The Statutes of the Republic of Singapore Registration of Criminals ACT 1949.

The Rehabilitation of Offenders Ordinance Act (1986). This Ordinance may be cited as the Rehabilitation of Offenders Ordinance. Retrieved Order 2012, Form https://www.elegislation.gov.hk/hk/cap297.

World Justice Project org. (2023). Ranking: Countries Scored by Overall Score. Retrieved October 30, 2023, Form https://worldjusticeproject.org/rule-of-law-index/global/2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

วาณิชวัฒนากุล ป. . (2024). การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดด้วยการกำหนดระยะพ้นมลทินของประเทศไทย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 12(2), 281–300. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/279761