วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ว่าด้วยเรื่อง อุดมการณ์ทางเพศของเพศทางเลือกผ่านแบบเรียนของไทย

ผู้แต่ง

  • ศานิตย์ ศรีคุณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002 https://orcid.org/0000-0002-7629-5488
  • ชนัญญา หิริโกกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

คำสำคัญ:

วาทกรรมเชิงวิพากษ์, ภาพตัวแทน, กลวิธีทางภาษา, กลุ่มเพศทางเลือก

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ทางเพศด้วยกลวิธีทางภาษาผ่านภาพตัวแทนกลุ่มเพศทางเลือกในตัวบทเรียนหนังสือรายวิชาสุขศึกษาพื้นฐานมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยเก็บข้อมูลจากสำนักพิมพ์ 5 สำนักพิมพ์ ได้แก่ พัฒนาคุณภาพวิชาการ, วัฒนาพานิช, สกสค., อักษรเจริญทัศน์ และเอมพันธ์ 

จากผลการศึกษาพบว่าหนังสือเรียนสุขศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นแต่เพียงการให้ความรู้ในรายวิชา แต่ยังมีการแฝงกลวิธีการนำเสนอภาพตัวแทนกลุ่มเพศทางเลือกไว้ด้วย เช่น การใช้คำอ้างถึง การใช้คำมูลบท การใช้คำปรากฏร่วมกัน และการใช้วัจนกรรม ซึ่งกลวิธีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดและทัศนคติบางประการในการนำเสนอภาพตัวแทนของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในมุมมองต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอภาพตัวแทนผู้กลุ่มเพศทางเลือกที่พึงประสงค์ ได้แก่ สังคมพหุวัฒนธรรมเป็นรูปแบบของสังคมที่ยอมรับความแตกต่างและความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงความหลากหลายทางเพศและวิถีทางเพศ และการนำเสนอภาพตัวแทนผู้กลุ่มเพศทางเลือกที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ความรุนแรงทางวัฒนธรรมในเรื่องเพศความเชื่อที่ว่า เพศตามธรรมชาติมีเพียงเพศชายและเพศหญิง ส่วนเพศอื่น ๆ “ไม่ธรรมชาติ " จึงส่งผลให้เกิดการกลั่นแกล้งกีดกันคนข้ามเพศในสังคม ซึ่งโยงนำไปสู่ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวคิดดั้งเดิมของคนในสังคม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ร่วมไปถึงการนำเสนอปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมผ่านสื่อสาธารณะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ผลการวิจัยก็แสดงให้เห็นถึงการสร้างภาพตัวแทนกลุ่มเพศทางเลือกในหนังสือเรียนเมื่อพิจารณาเทียบกับเหตุการณ์ในสังคมที่แสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนความคิดเรื่องเพศสภาวะแล้ว พบว่าการปรับปรุงเนื้อหาของหนังสือเรียนสุขศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแม้จะแสดงพัฒนาการที่สำคัญและมีการนำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มเพศทางเลือกมากยิ่งขึ้นแต่ก็ยังปรับเปลี่ยนได้ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงในสังคมด้วยเหตุนี้อาจนำไปสู่การผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, จาก http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id= 75.

กิตติ ปรมัตถผล และคณะ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. นนทบุรี: เอมพันธ์.

กุสุมาวดี คำเกลี้ยง และคณะ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นนทบุรี: เอมพันธ์.

กุสุมาวดี คำเกลี้ยง และคณะ (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. นนทบุรี: เอมพันธ์.

คชาธิป พาณิชตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ว่าด้วยชายรักชายในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ปีพ.ศ. 2555: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) คณะอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. (2566). "Pride Month " เดือนแห่งความภูมิใจของ LGBTO ความหลากหลายทางเพศที่เท่าเทียม, จาก https://ch9airport.com/pride-month/.

ตรีวิทย์ อัศวศิริศิลป์. (2562). มิติหญิงชายในแบบเรียนของไทย: การวิเคราะห์เนื้อหา.วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(1), 118-130.

ปริยศ กิตตธีระศักดิ์. (2560). ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามในการศึกษาถึงความหลากหลายทางเพศในคนกลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 114.

พนม เกตุมาน. (2566). การสอนเพศศึกษา-ครอบครัวศึกษาในวัยรุ่น, จาก http://www.psyclin.co.th/new_page_38.html.

พรสุข หุ่นนิรันดร์ และคณะ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

พรสุข หุ่นนิรันดร์ และคณะ. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ (สวท) ในพระราชปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. (2555). พ.ร.บ.คู่ชีวิตแตกต่างกับ สมรสเท่าเทียม อย่างไร, จาก https:/ppat.or.th/พ-ร-บ-คู่ชีวิตแตกต่างกับ/.

สมหมาย แตงสกุล และคณะ. (ม.ป.ป .). (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

สำนักข่าวไทย. (2561). คนข้ามเพศร้องหนังสือเรียนสุขศึกษา เนื้อหาเหยียดเพศ, จาก https://tna.mcot.net/tna-246450.

สำนักงานราชกิจจานุเบกษา. (2558). พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/018/17.PDF.

สิริภัทร เชื้อกุล. (2563). ภาพตัวแทนผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ประกอบสร้างผ่านภาษาในวาทกรรมสื่อมวลชนและวาทกรรมสื่อภาครัฐ-การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต) ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ.

อุทัย สงวนพงษ์ และ สุณัฏฐา สงวนพงศ์. (2563). หนังสือเรียนร้ายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

อุทัย สงวนพงษ์ และ สุณัฏฐา สงวนพงศ์ (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

Barker, C. (2008). Cultural Studies: theery and practice. Los Angles: Sage.

Fairclough, N. (1995a). Critical discourse analysis: the critical study of language. NewYork: Longman.

Panpothong, N. (2015). Thai Primary School History Textbooks: A Textually-oriented Critical Discourse Analysis. Journal of Language and Linguistics, 34(1), 66-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

ศรีคุณ ศ., & หิริโกกุล ช. (2024). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ว่าด้วยเรื่อง อุดมการณ์ทางเพศของเพศทางเลือกผ่านแบบเรียนของไทย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 12(2), 45–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/277689