การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน

ผู้แต่ง

  • ีรังสรรค์ หล้าคำจา สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000

คำสำคัญ:

การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ , ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ, เทคนิคการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน , การพัฒนาบทฝึกบทสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้บทฝึกบทสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคแบบเน้นภาระงาน และ 2) พัฒนาบทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อแบ่งกลุ่มแบบคละความสามารถ
2) แบบฝึกบทสนทนาโดยใช้เทคนิคแบบเน้นภาระงาน และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูลและค่าสถิติที่ใช้ คือ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติ ได้แก่ 1) หาค่าเฉลี่ย 2) หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการพูดภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคแบบเน้นภาระงานโดยใช้แบบทดสอบ t-test แบบ dependent sample เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการพูดภาษาอังกฤษ ผลจากการวิจัย พบว่า

  1. ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เทคนิคแบบเน้นภาระงานพบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลสัมฤทธิ์ในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีระดับคะแนนผ่านเกณฑ์ในระดับร้อยละ 70 เป็นจำนวน 28 คนได้รับคะแนนระดับ B1 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75 และมีนักศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 25

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). การใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 52-53.

ณุรัตน์ แย้มฉาย. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดนำเสนอภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1462/1/57254303.pdf.

ภัคภร อุบลน้อย และพีรพัฒน์ ยางกลาง. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(4), 1-13. จาก https://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_FORMJOURNAL/DRAWER001/GENERAL/DATA0017/00017682.PDF.

ภัทรภร บุญศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัชชุมาศ ลัภยวิจิตร. (2551). อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของแนวทางการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารนักบริหาร, 28(2), 90-95.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ศิรินันท์ เอื้อนไธสงค์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. จาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1402/1/56254208.pdf.

สุกัญญา ศิลประสาท. (2544). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Ellis, M. & Johnson, C. (1994). Teaching Business English. Oxford: Oxford University Press.

Hismanoglu. (2011). Task-based language teaching: what every EFL teacher should do. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15(2011), 46-51.

Johannsen, K. L. (2010). World English 1. Heinle: Cengage Learning.

Likert, R.A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Millrood, R. (2002). Teaching heterogeneous classes. ELT Journal, 56(2), 128-136.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Edinburg: Longman.

Willis, D. & Willis, J. (2007). Doing Tasks-based teaching. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01