อิทธิพลของความสะดวกในการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง: บทบาทในการแทรกของความพึงพอใจของลูกค้า

ผู้แต่ง

  • กุลวรรธน์ สังข์ภาพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 20131
  • จิราภา พึ่งบางกรวย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

ความสะดวกในการบริการ, ความพึงพอใจของลูกค้า, ความตั้งใจในการใช้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสะดวกในการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจของลูกค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทในการเป็นตัวแปรแทรกของความพึงพอใจของลูกค้าระหว่างมิติในการวัดความสะดวกในการบริการกับความตั้งใจในการใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบประชากรที่ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ทำการเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคที่มีประสบการณ์เข้าใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสมการการถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-35 ปีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองระยอง เหตุผลที่เลือกไปใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยองเนื่องจากมีบริการด้านอื่น ๆ ครบ วัตถุประสงค์ในการไปใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยอง คือ ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยโซนที่นิยมไปใช้บริการ คือ โซนอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่นิยมซื้อ คือ อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 501-1,000 บาท ความถี่ในการไปใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดระยองในระยะเวลา 1 เดือน คือ 2 - 3 ครั้ง วันที่มาใช้บริการครั้งล่าสุด คือ วันอาทิตย์ ช่วงเวลาที่มาใช้บริการ คือ 15.01 น.-17.00 น. เวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการซื้อสินค้าหรือบริการ คือ 1 - 2 ชั่วโมง และการบริการในธุรกิจที่ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่ามีความสะดวก คือ การมีร้านค้าที่หลากหลาย และการมีร้านอาหารที่หลากหลาย

ผลการศึกษาพบว่า ความสะดวกในการบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการใช้บริการ อีกทั้งผลการศึกษาบทบาทในการเป็นตัวแปรแทรกพบว่า ความพึงพอใจของลูกค้ามีบทบาทในการเป็นตัวแปรแทรกระหว่างมิติในการวัดความสะดวกในการบริการกับความตั้งใจในการใช้บริการ แต่มีบทบาทแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

References

ธนภรณ์ ไพบูลย์ และ จิราภา พึ่งบางกรวย. (2563). อิทธิพลของความสะดวกในการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจใน การใช้บริการศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต: บทบาทการแทรกของการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของเยาวชนไทยในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี, 4(1), 97-114.

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2562). อิทธิพลขององค์ประกอบของการพาณิชย์แบบใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(6), 55-69.

นวิทย์ เอมเอก และ ปาริฉัตร ตู้ดำ. (2561). คุณภาพบริการ ภาพลักษณ์องค์การ และความพึงพอใจของลูกค้าที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟสายใต้. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(3), 1592-1610.

นุชาวดี สุขพงศ์ไทย และ จิราภา พึ่งบางกรวย. (2563). อิทธิพลของความสะดวกในการบริการที่มีผลต่อ ความพึงพอใจในการใช้บริการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 71-85.

ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น, ศตวรรษ สายบุญ และ ภากร กัทชลี. (2565). อิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ ความพึงพอใจ และความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าชาวไทยต่อศูนย์การค้า G จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(4), 183-202.

สำนักงานคลังจังหวัดระยอง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจังหวัดระยอง. ระยอง:สำนักงานคลังจังหวัดระยอง.

เสาวภา มีแก้ว, นรพล จินันท์เดช และ อัมพล ชูสนุก. (2560). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ และผลการปฏิบัติงานส่งมอบสินค้าต่อความพึงพอใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความตั้งใจใช้บริการอย่างต่อเนื่องของลูกค้าบริษัท ฟาร์ม่า อัลลิอันซ์ จำกัด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 2583-2600.

สุนทรี บุญประเวช และ จิราภา พึ่งบางกรวย. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้สนามบินข้ามภูมิภาค กรณีศึกษาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Ajzen, I. (1985). From Intentions to Actions: A Theory of Planned Behavior. In J. Kuhl & J. Beckman (Eds.), Action-control: From Cognition to Behavior. New York: Springer, 11-39.

Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The Moderator-Mediator Variable Distinction in Social Psychological Research: Conceptual, Strategic and Statistical Considerations. Journal of Personality and Social Psychology, 51(6), 1173–1182. form https://doi.org/10.1037/0022-3514.51.6.1173.

Berry, L.L., Seiders, K., & Grewel, D. (2002). Understanding Service Convenience. Journal of Marketing, 66(3), 1-17. form http://dx.doi.org/10.1509/jmkg.66.3.1.18505.

Brown, L. G. (1990). Convenience in Services Marketing. Journal of Services Marketing, 4(1), 53-59. form https://doi.org/10.1108/EUM0000000002505.

Brown, Lew G., & M. R. McEnally. (1992). Convenience: Definition, Structure, and Application. Journal of Marketing Management, 2(3), 47-57.

Chang, E. & Polonsky, M. (2012). The Influence of Multiple Types of Service Convenience on Behavioral Intentions: The Mediating Role of Consumer Satisfaction in a Taiwanese Leisure Setting. International Journal of Hospitality Management, 31(1),107–118.

Cronin Jr., J. J., & Taylor, S. (1992). Measuring Service Quality: A Reexamination and Extension. The Journal of Marketing, 56, 55-68. form https://doi.org/10.2307/1252296.

Farquhar, J. D., & Rowley, J. (2009). Convenience: A Services Perspective. Marketing Theory, 9(4), 425–438. form https://doi.org/10.1177/1470593109346894.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). UpperSaddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Kaura, V., Durga Prasad, C.S. & Sharma, S. (2015). Service Quality, Service Convenience, Price and Fairness, Customer Loyalty, and the Mediating Role of Customer Satisfaction. International Journal of Bank Marketing, 33(4), 404-422, form https://doi.org/10.1108/IJBM-04-2014-0048.

Kotler, P. (1994). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation, and Control (8th ed.). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Robinson & Etherington. (2006). Customer Layalty: A Guide for Time Travelers. New York: Palgrave Macmillan, 6-8.

Seiders, K., Voss, G. B., Godfrey, A. L., & Grewal, D. (2007). SERVCON: Development and Validation of a Multidimensional Service Convenience Scale. Journal of the Academic Marketing Science, 35, 144-156, form http://dx.doi.org/10.1007/s11747-006-0001-5.

Sintonsopon, C. (2010). Factors Affecting the Customer’s Decision to use the Service A Case Study of 7 Eleven in Bangkok. (Graduate School). Bangkok: Silpakorn University.

Xie, L., Peng, J., & Shen, W. (2010). Customer’s Service Convenience and Customer’s Service Evaluation of the Bank’s Outlets, Proceeding Service System and Service Management (ICSSSM), 7th International Conference on Service System and Service Management (1-6).

Yimpong, S. & Kittiarpornphol, V. (2018). Study Report: Retail, Wholesale and Trade Large Retail-Wholesale in Bangkok and Surrounding Provinces Year 2016. Bangkok: Department of City Planning, Bangkok Metropolitan Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01