ผลการขยายการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษาของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ดารินทร อินทับทิม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นริศา ไพเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • พิชญ์สินี เสถียรธราดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • เกริก เจษฎานุวัฒน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • น้ำฝน กันมา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง, นวัตกรรมการบูรณาภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษ, ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, นักเรียนชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการขยายผลการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษที่คณะนักวิจัยได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2561 ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน ในจังหวัดพะเยา ผลปรากฏว่านักเรียนฯ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและเขียนประโยคได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ คณะนักวิจัยจึงได้ขยายการใช้นวัตกรรมฯ ให้ครูภาษาอังกฤษที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดพะเยานำไปใช้ในชั้นเรียนในปีการศึกษา 2563 คณะนักวิจัยติดตามและประเมินผลหลังการใช้จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากต่างโรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพะเยา เขต 1 และ 2  จำนวน 6 คน 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนของโรงเรียนที่ครูผู้สอนสังกัดอยู่จำนวน 6 คน และ 3) นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 36 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการประเมินนวัตกรรมประกอบด้วย 1) แบบประเมินนวัตกรรมประมาณค่า 5 ระดับสำหรับครูฯ และผู้อำนวยการฯ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับครูฯ 3) แบบสะท้อนคิดของครู 4) แบบสังเกตการสอนของคณะนักวิจัยและ 5) แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับนักเรียนฯ ครูทั้ง 6 คนได้รับการอบรมการใช้นวัตกรรมก่อนนำไปใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา 

ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมฯได้รับการประเมินจากครูและผู้อำนวยการโรงเรียนในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ครู 5 คน สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมในชั้นเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียนได้ 3) นักเรียนตระหนักในประโยชน์ของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้นวัตกรรมฯ และต้องการให้ครูใช้นวัตกรรมฯ กับนักเรียนชั้นอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้คณะนักวิจัยยังมุ่งหวังให้ผู้อำนวยการกำหนดนโยบายหรือแนวทางให้ครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษได้ใช้นวัตกรรมดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ

References

ดารินทร อินทับทิม, อภิญญา ห่านตระกูล, ศุภาวรรณ ปิงใจ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, พูนพงษ์ งามเกษม และ เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 67-84.

ดารินทร อินทับทิม. (2563). การพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ด้วยภาพชุดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในบริบทโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(4), 13-28.

ดารินทร อินทับทิม. (2564). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยนิทานพื้นบ้าน 2 ภาษาของกลุ่มครูผู้สอนสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษา กลุ่มเมืองพะเยา 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 29-55.

ดารินทร อินทับทิม, นริศา ไพเจริญ, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และน้ำฝน กันมา. (2565). การขยายผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษาของนักเรียนชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา. (2566). งานวิจัยนานาชาติชี้ ‘แนวโน้มความเหลื่อมล้ำทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลง’ แต่ไทยยังไม่พ้นวิกฤต ทางออกคือ ‘การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่’ สร้าง Game Changers พลิกโฉมการศึกษาไทย. สืบค้น 14 สิงหาคม 2566, จาก https://www.eef.or.th/news-110823/?fbclid=IwAR3OEuBRfrHE19xQvOzCPXP5UjA7ohVEMsBBvvO--PDm1dsqKCr9KjQKQjU.

พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และดารินทร อินทับทิม. (2565). การใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการออกเสียง คำศัพท์และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 180-201.

พูนพงษ์ งามเกษม, วรวรรธน์ ศรียาภัย, จารุวรรณ เบญจาทิกุล, พรสวรรค์ สุวรรณธาดา, ดารินทร อินทับทิม และ จิตติมา กาวีระ (2559). กระบวนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารวิชาการรมยสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 233-241.

สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2561, 31, มกราคม). ล่องสาละวิน...เยือนโรงเรียน I see U การศึกษาระหว่างเด็กต่างชาติพันธุ์. มติชนสุดสัปดาห์, จากhttps://www.matichonweekly.com/column/article_79173.

อภิญญา ห่านตระกูล, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ และ ดารินทร อินทับทิม. (2564). จากการบูรณาการภาษาศาสตร์สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 87-109.

Ajzen, I. (1991). Attitude, Personality, and Behavior. Milton: Open University Press.

Darasawang, P., Reinders, H., and Waters, A. (2015). Innovation in language teaching: The Thai context. In P. Darasawang and H. Reinders (Eds.). Innovation in language learning and teaching: The Case in Thailand. New York, NY: Palgrave Macmillan, 1-14.

Kennedy, C. (2013). Models of Change and Innovation. In K. Hyland and L. L. C., Wong (Eds.). Innovation and Change in English Language Education. New York, NY: Routledge, 13-27.

Sathientharadol, P. (2020). The use of semantic field approach to enhance English vocabulary development of Prathomsuksa 4 students at Betty Dumen Border Patrol Police School, Phayao Province, Thailand. Interdisciplinary Research Review, 15(6), 22-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01