ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชันในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
อาหารฟังก์ชัน , ความภักดีในตราสินค้า , ภาพลักษณ์ตราสินค้า , ความไว้วางใจในตราสินค้า , การรับรู้คุณภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ตราสินค้า ความไว้ใจในตราสินค้า และการรับรู้คุณภาพที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชัน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้ออาหารฟังก์ชันเป็นประจำหรือซื้ออาหารฟังก์ชันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน โดยศึกษา ทำงาน หรืออาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง Google Forms วิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ได้แก่ ด้านคุณค่า ด้านบุคลิกภาพของผู้ใช้ ด้านคุณประโยชน์ มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ด้านคุณสมบัติ ที่ไม่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชัน 2) ปัจจัยความไว้วางใจในตราสินค้า ได้แก่ ด้านความสามารถของตราสินค้า ด้านความน่าเชื่อถือของตราสินค้า ด้านความเอื้อเฟื้อของตราสินค้า ด้านความมีชื่อเสียงของตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยการรับรู้คุณภาพมีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้าของลูกค้าอาหารฟังก์ชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
งานวิจัยกรุงไทย. (2562). 3 ข้อควรรู้ก่อนเป็น Functional Food. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_427functional_food_paper_final.pdf.
โชติชญาน์ พลดี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐฌา เสรีวัฒนา. (2563). ภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณภาพการบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดี และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนวัฒน์เขษมวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
บุญสม รัศมีโชติและคณะ. (2565). ความรักและความนับถือในตราสินค้าต่อการสร้างความภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้บริการร้านกาแฟแบรนด์เนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(2), 89-100.
มนัสมนต์ กล่ำแดง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารชาบูบุฟเฟต์ในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ร้านชาบูบุฟเฟต์ 2 ร้าน ที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรัญญา คงจิตราภา. (2560). การรับรู้คุณค่าของปัจจัยด้านราคา คุณภาพการบริการและความไว้วางใจที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคต่อร้านอาหารริมทางในย่านเยาวราช. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2565). กระแสนิยมอาหารฟังก์ชัน ก้าวสำคัญผลิตภัณฑ์สุขภาพไทย. วารสารเพื่อการเตือนภัยสินค้าเกษตรและอาหาร. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/songkhla-article_prov-files-442791791799.
Aaker, D. A. (2009). Managing brand equity. New York, NY: Simon & Schuster Inc.
Bernarto, I., et al. (2020). The Influence of Brand Awareness, Brand Image, and Brand Trust on Brand Loyalty. Journal Management, 24(3), 412-426.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New York: john wiley & sons.
Cuong, D. T. (2020). The Impact of Customer Satisfaction, Brand Image on Brand Love and Brand Loyalty. Journal of Advanced Research in Dynamical and Control Systems, 12(6), 3151-3159.
Euromonitor (2018). Fortified/Functional Packaged Food. Retrieved March 15, 2566, form https://www.euromonitor.com/fortified-functional-packaged-food.
Hariyanto, E. (2018). The Influence of Brand Experience Through Brand Trust and Brand Satisfaction Toward Brand Loyalty Consumer at Carl's Jr Surabaya. Petra Business & Management Review, 4(2), 19-29.
Hussain, S. (2018). Brand Image and Customer Loyalty Through Sensory Marketing Strategies - A Study on International Fast Food Chain Restaurants. International Journal of Management Studies, 2(7), 32-39.
Lassoued, R., & Hobbs, J. E. (2015). Consumer Confidence in Credence Attributes: The Role of Brand Trust. Food Policy, 52, 99-107.
Nielsen Research Institute. (2019). Thai Clean Food Trend. International Journal of Tourism & Hospitality in Asia Pacific, 5(2), 20-37. Retrieved March 15, 2566, Form https://www.thumbsup.in.th/2019/07/thai-clean-food-trends/.
Nunnally, J. C. (1978). An Overview of Psychological Measurement. Clinical Diagnosis of Mental Disorders: A handbook, 97-146.
Odin, Y., Odin, N., and Valette-Florence, P. (2001). Conceptual and Operational Aspects of Brand Loyalty: An Empirical Investigation. Journal of Business Research, 53(2), 75-84.
Oliver, R. L. (1999). Whence Consumer Lyalty?. Journal of marketing, 63, 33-44.
Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of Cntent Specialists in the Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity, Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior (5th ed). New Jersey: Prentic-Hall.
Waebuesar, A. E., et al. (2022). Customer Satisfaction and Brand Loyalty: A Survey of Nestlé. International Journal of Tourism & Hospitality in Asia Pacific, 5(2), 20-37.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.