กลวิธีและรูปแบบกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน ในเพจเฟซบุ๊ก “แมวอ้วน”

ผู้แต่ง

  • ยุภาพร ขจีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • ดำรงค์ นันทผาสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • อรทัย สุทธิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44150

คำสำคัญ:

กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน , รูปแบบกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน , แมวอ้วน , เพจเฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีและรูปแบบกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในเพจเฟซบุ๊ก “แมวอ้วน” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 228 โพสต์ ผลการศึกษาพบ กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน 15 ประเภท โดยเรียงลำดับที่พบจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) กลวิธีการแสดงความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง 2) กลวิธีการหักมุม 3) กลวิธีการล้อเลียน 4) กลวิธีการยกย่องสัตว์ 5) กลวิธีการเล่นตลกร้าย 6) กลวิธีการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ 7) กลวิธีการใช้เรื่องเกินจริง 8) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ 9) กลวิธีการเปรียบเปรยด้วยภาพ 10) กลวิธีการประชดประชัน 11) กลวิธีการชมและตำหนิตนเอง 12) กลวิธีการบ่งชี้โดยนัย 13) กลวิธีการเสียดสี 14) กลวิธีการผูกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันโดยตรงเข้าด้วยกัน และ 15) กลวิธีการทำให้เป็นเรื่องสัปดน ตามลำดับ ส่วนรูปแบบกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน พบ 3 รูปแบบ ได้แก่ กลวิธีแบบเดี่ยว กลวิธีแบบผสม 2 กลวิธี และกลวิธีแบบผสม 3 กลวิธี

References

จิรศุภา ปล่องทอง. (2550). การศึกษาลักษณะภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุกขำขันของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดนุพล เขียวสาคู. (2548). รู้เรื่องแมวเมืองไทย. กรุงเทพฯ: โหลทองมาสเตอร์พริ้นท์จำกัด.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). 9 มิ.ย. ปลดล็อก "กัญชา กัญชง" พ้นยาเสพติด เผยแนวทางการปลูก-การนำเข้า. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/society/2396236.

นฤมล มานิพพาน. (2537). คู่มือการเลี้ยงแมวไทย. กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.

พรดุสิต พูลเขตรวิทย์. (2555). ข้อมูลเพจเฟซบุ๊กแมวอ้วน. สืบค้น 31 ธันวาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/maewauan.

พรพรรณ ฉายปรีชา. (2564). กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันของเฟซบุ๊กแฟนเพจ “หนังฝังมุก”. (การค้นคว้าอิสระอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พุทธชาด สุขรอด. (2545). การสื่อความหมาย การสร้างอารมณ์ขัน และสัมพันธบทในการ์ตูนระกากับราณี. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย.วารสารมนุษยศาสตร์, 23(1), 154–178.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2536). อารมณ์ขันในสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: เอ ที พี เพลส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01