“ฝรั่งศักดินา” กับแนวคิดเรื่องการแบ่งวรรณะด้วยทรัพย์และศักดิ์จากผลงานของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

ผู้แต่ง

  • Truong Thi Hang คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จังหวัดลำปาง 52100

คำสำคัญ:

“ฝรั่งศักดินา”, วรรณะ, ทรัพย์, ศักดิ์, ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

บทคัดย่อ

หนังสือเรื่อง “ฝรั่งศักดินา” ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ให้ความรู้ทั้งประวัติความเป็นมารวมถึงหลักในการแบ่งชั้นวรรณะในสังคมตะวันตกสมัยที่ปกครองด้วยระบอบศักดินา ทำให้เกิดบทความชิ้นนี้ขึ้น รากเหง้าของระบอบศักดินาเกิดขึ้นที่กรุงโรมเป็นแห่งแรกและในยุคที่รัฐบาลเสื่อมอำนาจจนไม่อาจคุ้มครองราษฎรอย่างทั่วถึง ศักดินาแม้จะเป็นแบบแผนที่ใช้กันแพร่หลายในจักรวรรดิโรมันเช่นดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันในปัจจุบันแต่กลับได้พัฒนาสู่จุดที่สมบูรณ์ในดินแดนอังกฤษ โดยหลักสำคัญอยู่ที่ที่ดินทั้งประเทศเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และสิทธิเหนือที่ดินได้ถูกใช้เป็นเครื่องกำหนดฐานันดรและหน้าที่ของประชาชนทั้งผอง สำหรับเมืองไทยซึ่งปกครองด้วยระบอบศักดินาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาลงมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการวัดศักดิ์ของบุคคลด้วยจำนวนไร่ที่เป็นมาตราวัดพื้นที่นา จากนั้นก็นำศักดินามาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดสิทธิ หน้าที่ และฐานะของบุคคลอีกต่อหนึ่ง ผลงานของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังทำให้ทราบว่าจำนวนโคเคยถูกใช้เป็นเครื่องประเมินเกียรติและอิทธิพลของบุคคลในสังคมอริยะยุคพระเวท และสังคมแซมเบียในภูมิภาคแอฟริกาใต้ทั้งช่วงก่อนและหลังจากที่ได้พ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม การแบ่งวรรณะด้วยทรัพย์และศักดิ์ในสังคมตะวันตกอย่างอังกฤษแตกต่างจากสังคมตะวันออกเช่นอินเดียและไทย ตลอดจนสังคมแซมเบียในภูมิภาคแอฟริกาใต้ โดย “ทรัพย์” อันประกอบด้วยวัตถุที่มีรูปร่างเช่นที่ดินและโคและวัตถุที่ไม่มีรูปร่างอย่างศักดินาและ “ศักดิ์” ในแง่ที่เป็นฐานะของบุคคลซึ่งสืบเนื่องมาจากการมีทรัพย์ดังกล่าว ไม่ได้อยู่คู่กันเสมอ อนึ่ง แม้สังคมอริยะในยุคพระเวทรวมถึงแซมเบียในภูมิภาคแอฟริกาใต้จะใช้โคเป็นเครื่องประเมินฐานะของบุคคลในทำนองเดียวกับที่อังกฤษและไทยใช้ศักดินา แต่ก็เป็นเพียงค่านิยมของประชาชนในยุคสมัยหนึ่ง ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวหรือที่ถูกบัญญัติไว้เป็นตัวบทกฎหมาย

References

จิตร ภูมิศักดิ์. (2543). โฉมหน้าศักดินาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

โจเซฟ แคมพ์เบลล์ และ บิลล์ มอยเยอร์ส. (2551). พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม (บารนี บุญทรง, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2518). จากหน้าห้า น.ส.พ. สยามรัฐ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2545). สงครามผิว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2548). ฝรั่งศักดินา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2552). ไผ่แดง (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2553). สามนคร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556). ธรรมแห่งอริยะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

สุกัญญา สุดบรรทัด. (2554). นักหนังสือพิมพ์ชื่อคึกฤทธิ์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

อำนาจ ยุทธวิวัฒน์. (2517). โต้ ... คึกฤทธิ์ ปราโมช ทุนนิยมคืออะไร?. กรุงเทพฯ: ประชาธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01