ทฤษฎีฐานรากว่าด้วยความเข้มแข็งของ ระบบการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศานิตย์ ศรีคุณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002 https://orcid.org/0000-0002-7629-5488
  • พรรณพัชนันท์ พิสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

คำสำคัญ:

ทฤษฎีฐานราก, ระบบการพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบทฤษฎีฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากความเข้มแข็งของระบบการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ คณะผู้บริหาร คณะกรรมการงานพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และคณาจารย์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีแนวคำถามการสัมภาษณ์ ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐานผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การบริหารและการจัดการสถานศึกษา 4) จุดแข็งและจุดบกพร่องของระบบการพัฒนาหลักสูตร และ 5) ข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดเทปการให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เข้ารหัสข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti ซึ่งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่มีลักษณะหลากหลายผ่านการกำหนดรหัสข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างได้ ผลการวิจัยพบว่า ความเข้มแข็งของระบบการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษาเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) กระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 2) ความพร้อมของทรัพยากรที่เป็นข้อได้เปรียบ และ 3) หลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คมกฤช ตาชม และ สนิท ยืนศักดิ์. (2561). ทัศนคติและการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(1), 21-41.

ชนมณี ศิลานุกิจ, อำนวย ทองโปร่ง, รังสรรค์ มณีเล็ก, และ สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 43-58.

ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพวรรณ เมืองแก้ว และ กนกวรรณ วารีเขตต์. (2566). การวิเคราะห์ลักษณะและโครงสรางของ ปริจเฉทรายการวิทยุคลับฟรายเดย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 11(1), 46-66.

พัชมณ สระแก้ว, ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ และ สุรชัย ปิยานุกูล (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 32. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์. (2561). การใช้ภาษาในการเสนอภาพสตรีจากนิตยสารบันเทิงไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(2), 140-152.

วรางคณา สุพรรณชนะบุรี และ อลิสา คุ่มเคี่ยม. (2565). วาทกรรมความรักจากเพจ Coach Jibb. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10(2), 102-118.

วันทนีย์ ศรีบุรินทร์ และ จุไรรัตน์ อาจแก้ว. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 1-23.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วุฒิพงษ์ ศรีจันทรี, จํานงค์ แจ่มจันทรวงษ์ และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2561). ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(2), 124-139.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 168-185.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา, จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF.

สุภัค ยมพุก และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การบริหารสถานศึกษาและการรับรู้การสนับสนุน การปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 78.

สุรีรัตน์ ยอดบุรี และ นิคม นาคอ้าย. (2564). การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 289–303.

Charmaz, K. (2009). Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. Los Angeles London: SAGE.

Cullen, M. M., & Brennan, N. M. (2021). Grounded Theory: Description, Divergences and Application. Accounting, Finance & Governance Review, 27, from https://doi.org/10.52399/001c.22173.

Ghonoodi, A., & Salimi, L. (2011). The Study of Elements of Curriculum in Smart Schools. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 28, 68-71, from https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2011.11.014.

Howard, J. (2007). Curriculum Development. Center for the Advancement of Teaching and Learning Elon University, from https://www.uwindsor.ca/ctl/sites/uwindsor.ca.ctl/files/curriculum-development.pdf.

KKU Archives. (2546). ระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการศึกษาของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จากhttps://archive.kku.ac.th/omeka/items/show/5078.

Moen, R., & Norman, C. (2009). Evolution of the PDCA Cycle. Proceedings of the 7th ANQ Congress, Tokyo 2009.

Xia, S. (2020). Developing Awareness of Questioning Strategies for Second Language Learner Teachers. Journal of Language Teaching and Research, 11(6), 853, from https://doi.org/10.17507/jltr.1106.01.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01