การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูโรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ระดับศิลป์ บุดดี โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย 571000

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ , การนิเทศภายในแบบบูรณาการ , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  4) ประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นกระบวนการนิเทศที่เน้นการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อให้คำแนะนำ ปรับปรุง พัฒนาการสอนให้มีคุณภาพโดยเน้น
    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เกิดจากการบูรณาการการนิเทศแบบคลินิก การนิเทศแบบพี่เลี้ยงและการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยมีผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมปรึกษาหารือ วางแผนการจัดการเรียนรู้ สังเกตการสอน ลงมือปฏิบัติและให้ข้อมูลย้อนกลับจนประสบผลสำเร็จ
    ตามจุดมุ่งหมาย
  2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่
    1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ 5) การวัดและประเมินผล 6) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนกำหนดทิศทาง 2) การปฏิบัติการนิเทศ 3) การเรียนรู้และพัฒนา และ 4) การสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งผลการประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้ อีกทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
  3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าหลังการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและจัดการเรียนการสอนที่สร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุดอีกทั้งมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
    อยู่ในระดับดี
  4. ผลการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ
    พึงพอใจมากที่สุด

References

ฝ่ายวิชาการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เดอะบุคส์จำกัด.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น. (2564). การนิเทศภายในสถานศึกษาปีการศึกษา 2564. โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.

โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น. (2564). รายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) 2564. โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.

วงศ์พันธ์ เวียงนนท์, สุวิมล โพธิ์กลิ่น และธิดารัตน์ จันทะหิน. (2564). การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 28. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 11(1), 197-199.

วัชรา เล่าเรียนดี, อรพิณ ศิริสัมพันธ์ และปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ศุภลักษณ์ มีปาน. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สุกัญญา งามบรรจง. (2560). รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Acheson, K.A. & Gall, M.D. (1997). Techniques in the clinical supervision of teachers: preservice and in-service applications (4th edition). Longman Publishers, 10 Bank St., White Plains N.Y.

Beach, D.M. and Reinhartz, J. (2000). Supervision leadership: Focus on instruction. Boston: Allyn and Bacon.

Glatthorn, A.A. (1994). Differentiated supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and Development.

Glickman, Carl D, Godon, Stephen P., & Rose-Gordon, Jovita M. (2016). Supervision and instruction leadership: A developmental approach. Boston: Allyn and Bacon. Inc.

Herzberg, Frederick. (2001). Work and the nature of man. New York: World.

Hudson, P., & Hudson, S. (2010). Mentor educators understanding of mentoring pre service primary teachers. International Journal of Learning, 17(2), 157-170.

Kyriacou Chris. (2007). Essential teaching skills. United Kingdom: Nelson.

Maslow's-Hierarchy-Of-Needs. (2009). ทฤษฎีความต้องการของ มาสโลว์. Retrieved June 24, 2022, from http://www.biz-development.com/HumanResources/3.18.

Nick, J.M. and et al., (2012). Best practices in academic mentoring: A model for excellence. Nursing Research and Practice.

Plook Teacher. (2562). การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับยุค VUCA. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/76134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01