ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในการแก้ไขปัญหา เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ช่วงปี พ.ศ. 2554-2562 ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม, โครงสร้างโอกาสทางการเมือง, การระดมทรัพยากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในการแก้ไขปัญหาเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงช่วงปี พ.ศ. 2554-2562 ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะการถูกไล่รื้อพื้นที่ทำกิน โดยใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือในการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการขับเคลื่อนของกลุ่มคณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.) ตามแนวทฤษฎีการระดมทรัพยากร (RM) และโครงสร้างโอกาสทางการเมือง มีดังนี้ 1) มีการใช้ยุทธวิธีของการต่อต้านของประชาชนต่อการเข้ามาของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตโดยตรง การใช้กฎหมาย การสร้างเครือข่าย 2) นับแต่มีการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็ต้องตกอยู่ภายใต้ระบอบอำนาจนิยม ซึ่งทำให้เกิดการปิดกั้นการเคลื่อนไหวและการแสดงออกทางการเมือง ข้อเสนอแนะจากผู้ศึกษา ได้แก่ จะต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเรียกร้องผลักดันในการให้รัฐบาล คสช. คืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนให้เร็วที่สุด ให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีผู้แทนที่มาจากประชาชนและการนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดกฎกติกาที่เป็นธรรม และต้องมีการจัดตั้งเป็นองค์กรของภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการดำเนินการต่อสู้เรียกร้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
References
เดชา คำเบ้าเมือง. (2551). เปิดรายงาน: กฟผ.นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 60 นายเข้าไล่รื้อบ้านชาวบ้าน ใน จ.ร้อยเอ็ด. from https://prachatai.com/journal/2008/12/19389.
เดชา คำเบ้าเมือง. (2554). เสียงเพรียกหาความยุติธรรม... กรณีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (1). from https://prachatai.com/journal/2011/06/35287.
ธนิดา หิรัญคำ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษายุติธรรมชุมชนตำบลบ้าน ฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 314-322.
ประชาไท. (2554). นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านไม่ยอมให้ จนท.กฟผ. ปักเสาไฟฟ้าสูงเข้าที่สวนของตน. from https://prachatai.com/journal/2011/03/33572.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2540). การเมืองของขบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี นามจิรโชติและกฤษณา ไวสำรวจ. (2561). การจัดการความขัดแย้งการออกเอกสารสิทธิในที่ดินของกรมที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2(6), 523-536.
สำนักข่าวชายขอบ. (2557). ชาวเลยโวยกฟผ.อุกอาจ ปักหมุดในที่ดินโดยไม่ขออนุญาต เตรียมสร้างระบบสายส่งเชื่อมเขื่อนไซยะบุรี. from http://transbordernews.in.th/home/?p=5811.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2566). การซื้อขายไฟฟ้าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง.
from https://www.eppo.go.th/index.php/th/electricity/plan-aec/mekong-river.
ADB. (2013). Assessment of the Greater Mekong Subregion energy sector development: Progress, prospects, and regional investment priorities. (Asian Development Bank Ed.). Mandaluyong City,The Philippines: Asian Development Bank.
Johansen, C. (2004). Electromagnetic fields and health effects—epidemiologic studies of cancer, diseases of thecentral nervous system and arrhythmiarelated heart disease. Scandinavian Journal of Work, Environment & Health, 30(1), 1-30.
Katus, S., Suhardiman, D., & Senaratna Sellamutu, S. (2016). When local power meets hydropower: Reconceptualizing resettlement along the Nam Gnouang River in Laos. Geoforum, 72, 6-15. doi:10.1016/j.geoforum.2016.03.007.
Kitschelt, H. P. (1986). Political opportunity structures and political protest: Anti-nuclear movements in four democracies. British journal of political science, 16(1), 57-85.
McCarthy, J. D., & Zald, M. N. (1977). Resource mobilization and social movements: A partial theory. American journal of sociology, 82(6), 1212-1241.
World Health Organization, & International Programme on Chemical Safety. (1993). Electromagnetic fields (300 Hz to 300 GHz) / published under the joint sponsorship of the United Nations Environment Programme, the International Radiation Protection Association, and the World Health Organization. Geneva: World Health Organization.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.