การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รณชัย นันทโชติ ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • ศิวนาฏ เที่ยงตรง สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • ชัยชนะ แซ่ล้อ สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • นิศากร ทองดี สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • ปานวาด ศรพรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จังหวัดนครปฐม
  • ปาริชาติ แสงหนู สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จังหวัดนครปฐม
  • พิสิฐกร พูลเกษม สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • สุชานรี เยื่อใย สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • อรวรา ม้าแก้ว สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
  • ฐรดา ประเสริฐ ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี

คำสำคัญ:

การศึกษาเปรียบเทียบ , นาฏศิลป์ศึกษา , หลักสูตรปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาตรี สาขานาฏศิลป์ในครั้งนี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ เพื่อการศึกษาหลักสูตร การวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัตลักษณ์ของหลักสูตร และการเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยศึกษาจากเอกสารมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายเลข 2 ตามทฤษฎีการศึกษาเปรียบเทียบของ Bereday (1964) ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์ของแต่ละหลักสูตรมีส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาการเปรียบเทียบหลักสูตร และส่งผลต่อคุณลักษณะอันหลากหลายของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์ศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ การนำเข้าหรือพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาด้านนาฏศิลป์ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มรายวิชาที่สนับสนุนทักษะการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมทักษะทางภาษาและการสื่อสาร เน้นการปูพื้นฐานภาษาที่ 3 หลักสูตรกำหนดหัวข้อรายวิชาสัมมนาทางนาฏศิลป์ตามการสนใจของนักศึกษา และเพิ่มการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษตามมาตรฐานที่สถาบันกำหนด ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรด้านนาฏศิลป์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี ทางด้านนาฏศิลป์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลย์ธีรา สุภนิธิ และ ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 22.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้าที่ 4.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (6 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้าที่ 12.

วรพรรณ กีรานนท์. (2540). การวิเคราะห์หลักสูตรนาฏศิลป์ศึกษา ระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษา. (บัณฑิตวิทยาลัย ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 9.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bereday, G. Z. F. (1964). Comparative method in education. New York: Holt Rinehart and Winston.

Walker, D. F. (1990). Fundamentals of curriculum. San Diego: CA. Harcourt Brace Jovanovich.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

นันทโชติ ร. ., เที่ยงตรง ศ. ., แซ่ล้อ ช., ทองดี น. ., ศรพรม ป., แสงหนู ป. ., พูลเกษม พ. ., เยื่อใย ส. ., ม้าแก้ว อ. ., & ประเสริฐ ฐ. . (2023). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาในประเทศไทย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 227–245. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/264066