พื้นที่ทางสังคมของแรงงานข้ามชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ธนารดี คำยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 19000

คำสำคัญ:

แรงงานข้ามชาติ, การย้ายถิ่น, พื้นที่ทางสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาพื้นที่ทางสังคมของแรงงานเมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยใช้แนวคิดการย้ายถิ่น การเคลื่อนย้ายผู้คน และพื้นที่ทางสังคม  พื้นที่ทางสังคมในการศึกษานี้ หมายถึง ขอบเขตและอิสระในการดำเนินชีวิตในสังคมซึ่งอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ของอำนาจ และตำแหน่งของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งประกอบสร้างด้วยลักษณะทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ สังคมและเครือข่าย และรูปแบบความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม แรงงานข้ามชาติในการศึกษาครั้งนี้เป็นกลุ่มแรงงานเมียนมา ลาว และกัมพูชา จำนวน 278 คน โดยเก็บข้อมูลด้วยรูปแบบการสัมภาษณ์ที่ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแปลเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาเมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของข้อมูล และสถิติ F-test

ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมแรงงานทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยพื้นที่ทางสังคมเท่ากับ 17.57 คะแนน (คะแนนสูงสุดเท่ากับ 35 คะแนน) เมื่อพิจารณาตามสัญชาติพบว่า แรงงานลาวมีพื้นที่ทางสังคมในประเทศไทยสูงที่สุด คือ 20.32 คะแนน รองลงมาคือ แรงงานกัมพูชา 17.0 คะแนน และแรงงานเมียนมา 16.9 คะแนน เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยพื้นที่ทางสังคมจำแนกตามเพศและสัญชาติ พบว่า แรงงานหญิง สัญชาติลาวมีคะแนนเฉลี่ยพื้นที่ทางสังคมสูงที่สุดและสูงกว่าแรงงานหญิงและแรงงานชายสัญชาติอื่น รวมถึงสูงกว่าแรงงานชายสัญชาติเดียวกัน

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2544). ปัญหาการจัดการผู้อพยพจากประเทศพม่า. ใน อัมพร จิรัฐติกร (บรรณาธิการ). ไทยกับพม่า: ข้อควรทำและไม่ควรทำ. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 132-166.

กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ. (2543). เพศ อนามัยเจริญพันธุ์และความรุนแรง:ประสบการณ์ชีวิตของแรงงานอพยพจากประเทศพม่า. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

มนทกานต์ ฉิมมามี และพัชราวลัย วงศ์บุญสิน. (2557). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ของแรงงานข้ามชาติพม่า ลาว และกัมพูชา หลังย้ายถิ่นมาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสังคม, 37(2), 195-242.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2558). วารสารสถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2558. จาก http://wp.doe.go.th/wp/images/statistic/sy/sy2557.pdf.

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย. (2556). การเปลี่ยนแปลง รูปแบบการย้ายถิ่นของแรงงานพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: องค์การเพื่อการโยกย้ายประเทศเพื่อการตั้งถิ่นฐาน สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย.

Bylander, M. (2019). Is regular migration safer migration? Insights from Thailand. Journal on Migration and Human Security, 7(1), 1-18.

Faist, T. (2013). The mobility turn: a new paradigm for the social sciences?. Ethnic and Racial Studies, 36(11), 1637-1646.

Fellmann, J. D., Arther, G., & Judith, G. (1997). Human Geography Landscape of human activities. New York: McGraw-Hill.

Huguet, J., Chamratrithirong, A., & Richter, K. (2011). Thailand Migration Profile in JW Huguet, A. Chamratrithirong (eds), Thailand Migration Report 2011. Bangkok: International Organization for Migration, 7-16.

Sampson, I. A., Miles, G. M., & Piano, E. (2020). “Undocumented, unregistered and invisible”: an exploratory study of the reasons for and effects of migrating to Thailand of Cambodian young people. International Journal of Sociology and Social Policy, 41(7), 862-874.

Urry, J. (2011). Mobilities: new perspectives on transport and society. Surrey: Ashgate Publishing, Ltd.

Wiley, S. B. C., Sutko, D. M., & Moreno Becerra, T. (2010). Assembling social space. The Communication Review, 13(4), 340-372.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-25

How to Cite

คำยา ธ. . (2023). พื้นที่ทางสังคมของแรงงานข้ามชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(2), 272–286. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/264009