กลยุทธ์พัฒนาทุนของชาติพันธุ์เพื่อการยกระดับ สถานะทางสังคมให้สูงขึ้น: กรณีศึกษา ชนชั้นนำชาวยอง ในภาคเหนือตอนบนของไทย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์ , คนยอง , ชาติพันธุ์ชาวยองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ของชนชั้นนำชาวยองในการพัฒนาทุนของชาติพันธุ์เพื่อการยกระดับสถานะทางสังคมของตนเองและของกลุ่มชาติพันธุ์ยองให้สูงขึ้น โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายการวิจัยที่เป็นชนชั้นนำชาวยองใน 4 พื้นที่ศึกษา ได้แก่ 1) อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2) อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 3) ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 4) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พื้นที่ละ 4 กลุ่มเป้าหมาย รวม 16 กลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการศึกษาประวัติชีวิตของกลุ่มเป้าหมายการวิจัย และศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 13 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่ต้องการ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT มีการตรวจสอบแบบสามเส้าเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาร่วมกับการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และเอกสารที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอรายงานผลการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ชนชั้นนำชาวยองในภาคเหนือตอนบนของไทย มีกลยุทธ์พัฒนาทุนของชาติพันธุ์เพื่อการยกระดับสถานะทางสังคมให้สูงขึ้นตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแยกได้เป็น 15 รูปแบบกลยุทธ์ เช่น 1) กลยุทธ์บวชเรียนเพื่อพัฒนาทุนความสามารถพิเศษส่วนตัว 2) กลยุทธ์การเดินทางไปเรียนรู้และใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่เพื่อพัฒนาทุนความสามารถพิเศษส่วนตัว 3) กลยุทธ์ใช้ทุนเศรษฐกิจเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาทุนความสามารถพิเศษส่วนตัวให้สูงขึ้นนำไปสู่การเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเกียรติภูมิและอำนาจ 4) กลยุทธ์ใช้ทุนความสามารถพิเศษส่วนตัวร่วมกับทุนเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนชาวยอง 5) กลยุทธ์การใช้ทุนความสามารถพิเศษร่วมกับทุนชื่อเสียงส่วนตัวเพื่อเสริมสร้างทุนเครือข่ายชาวยองนำไปสู่การพัฒนาเป็นสถาบันกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเข้มแข็ง เป็นต้น
References
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: อินทนิล.
กำพล จาววัฒนาสกุล. (2547). การปรับตัวของนักเรียนนักศึกษาชาวเขาในเขตชุมชนเมือง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ทวี สว่างปัญญางกูร. (2527). ตำนานเมืองยอง MONG YAWNG CHRONICLE. เชียงใหม่: มปพ.
ธนวัฒน์ ปาลี. (2559). การเมืองเรื่องการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของคนยองในลำพูน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.
นิสาพร วัฒนศัพท์, ฐานิดา บุญวรรโณ และ ศิวาภรณ์ ไชยเจริญ. (2559). ช่วงชั้นทางสังคม ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม และการอธิบายถึงความเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางในสังคม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(4), 362-376.
พัชราภรณ์ คชินทร์. (2565). ความเป็นไทยกับบทบาทการเป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมในการท่องเที่ยวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10(2), 1-22. จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/254210/173574.
เฟื่องฟ้า ลัยมณี. (2548). การปรับปรนวิถีชีวิตของชาวไทใหญ่: กรณีศึกษาหมู่บ้านนาหวาย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2537). การคงอยู่และการปรับเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท: กรณีศึกษาหมู่บ้านยอง ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2555). การต่อสู้บนพื้นที่ความทรงจำของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศไทย. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, 8(2011), 77-104.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (13 ตุลาคม 2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา, 1. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF.
สุนทร คำยอด, ศิริพร มณีชูเกตม ชยุตภัฎ คำมูล และ อาภาลัย สุขสำราญ. (2565). ภาพลักษณ์พระสงฆ์ในเอกสารโบราณล้านนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 10(2), 145-161. จาก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/231004.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสวง มาละแซม. (2560). ฅนยองย้ายแผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: กองทุนเพื่อค้ำชูพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น วัดป่าดาราภิรมย์.
อภินันท์ ธรรมเสนา. (2553). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มคนยองในจังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bourdieu, P. (1986). The Forms of Capital. In Richardson, J. G. (Ed.), Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood Press, 241-258.
Kerbo, H. R. (1996). Social Stratification and Inequality: Class Conflict in Historical and Comparative Perspective (3rd ed.). Np.: R.R. Donnelly & Sons.
Kerbo, H. R. (2012). Social stratification and inequality: Class conflict in historical, comparative, and global perspective (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.