รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัย เพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • มนตา รัตนจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พิชชา ถนอมเสียง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • วิไลวรรณ กลิ่นถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วม , คนสองวัย , พฤฒพลัง , วัยก่อนสูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 45 – 59 ปี จำนวน 30 คน และเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการเลือกโดยอาสาสมัคร (Volunteer selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ 2) แบบประเมินพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ และ 3) แบบสะท้อนคิดต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัย

ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัยเพื่อส่งเสริมพลังพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ จำนวน 6 ครั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.73 - 4.44 และมีค่าเฉลี่ยทุกกิจกรรมเท่ากับ 4.08 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก  2) วัยก่อนสูงอายุมีค่าเฉลี่ยพฤฒพลังหลังเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม คือ 3.90 และ 3.66 โดยมีค่าเฉลี่ยพฤฒพลังด้านการมีส่วนร่วมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขภาพและด้านหลักประกันความมั่นคง ตามลำดับ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหา สุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนัญญา ปัญจพล. (2558). ศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดลนภา ไชยสมบัติ และ บัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131-143.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และ ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธ. (2561). การปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมสูงอายุในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 253-265.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (ม.ป.ป.). สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/3/276.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2563). เอ็นไอเอจับมือสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เปิดตัวศูนย์การเรียนรู้ “ชราแลนด์” เตรียมพร้อมเยาวชนรับมือสังคมสูงวัยด้วยนวัตกรรม TAEM4INNOVATOR. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก https://mahidol.ac.th/temp/2020/10/press.pdf.

ThaiPublica. (2018). ศูนย์ดูแลคนสองวัย “Intergeneration Center” โมเดลเชื่อมสัมพันธ์ต่างรุ่น สร้างคุณภาพชีวิต “คนแก่-เด็กเล็ก” เรียนรู้ใส่ใจกันและกัน. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก https://thaipublica.org/2018/05/intergeneration-care-center-aging-preschool/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

เถียรประภากุล ป., รัตนจันทร์ ม. ., ถนอมเสียง พ. ., & กลิ่นถาวร ว. . (2023). รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัย เพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 185–214. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/261749