การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์รายวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
สื่อวีดิทัศน์ , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก , ประสิทธิภาพ, ดัชนีประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์รายวิชาภาษาไทย 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์รายวิชาภาษาไทย 3) เปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในจังหวัดลำปาง และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กที่เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์รายวิชาภาษาไทย เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง จำนวน 8 คน และนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง จำนวน 35 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นครูและนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 10 แผน สื่อวีดิทัศน์ จำนวน 10 ตอน แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวีดิทัศน์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และมีประสิทธิภาพ 81.55/81.38 2) ดัชนีประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์มีค่าเท่ากับ 0.6010 คิดเป็นร้อยละ 60.10 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ 3) ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม และ 4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
References
จิตราภรณ์ ชั่งกริส. (2559). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped classroom เรื่อง การตรวจร่างกายรายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ. (ปริญญาศึกษาศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทรงสุดา น้ำจันทร์. (2563). การศึกษาผลการใช้วีดิทัศน์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณจำนวนเต็มสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาหลาง จังหวัดชุมพร สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก http://ska2.go.th/reis/data/research/25640617_153139_8338.pdf.
ทิฐฐาน เนียมชูชื่น, อานันท์ นิรมล และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2562). การพัฒนาชุดวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย,11(2), 324-327.
พงศ์ศักดิ์ บัวจะมะ. (2555). การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มงคล พันธ์เพชร. (2558). การพัฒนาสื่อวิติทัศน์เรื่องการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรณีศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ. จาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1290.
ยุวดี ทองอ่อน. (2561). Active Learning: การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม. วารสารการจัดการความรู้ Knowledge Management Journal. สืบค้น 16 สิงหาคม 2564, จาก http://apr.nsru.ac.th/KM/myfile/20181112103524_%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20KM%20NSRU61.pdf.
รสวลีย์ อักษรวงศ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้การนิเทศตามกระบวนการระบบพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2),486-498.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุริยา เทพิน, ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, ธนพรรณ บุณยรัตกลิน, พเยาว์ ดีใจ และสมสมร พรพรรณพิพัฒน์. (2559). การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์ วิชาแกะสลักเชิงธุรกิจเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 21-34.
อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการจัดและตกแต่งสวนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสาระสนเทศ, 5(2),67-76.
Morable, L. (2000). Using Active Learning Techniques. Department of Education, The Texas Higher Education Coorinating Board and Richland College.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.