โครงสร้างประชากรไทยกับโอกาสในวิกฤติของ ธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน
คำสำคัญ:
ธุรกิจค้าปลีก , โครงสร้างประชากรศาสตร์ , วิกฤติของธุรกิจค้าปลีก , โอกาสของธุรกิจค้าปลีกบทคัดย่อ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ในโลกยุคดิจิทัล นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจค้าปลีก ที่เดิมนั้นผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยผ่านหน้าร้านมาเป็นการจับจ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ เกิดเป็นวิกฤติที่ธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านต้องหาทางรับมือ ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชาการศาสตร์ของไทย 2) เพื่อศึกษาวิกฤติของธุรกิจค้าปลีกโลกและประเทศไทย 3) เพื่อแสวงหาโอกาสของธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน โดยจากการศึกษาพบว่าการแข่งขันทางการตลาดในธุรกิจค้าปลีกที่เกิดคู่แข่งรายใหม่อย่างร้านค้าออนไลน์ เป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้สามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่ทั่วโลก ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหันไปจับจ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์มากขึ้น ทำให้ยอดขายผ่านช่องทางธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านลดลงจนถึงขั้นปิดกิจการ อย่างไรก็ตามในวิกฤติที่เกิดขึ้นนั้นมีโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรศาสตร์ไทยไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านจะต้องมีการปรับตัวเพื่อแสวงหาหรือรองรับโอกาสนี้ โดยการพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในร้านซึ่งมีอยู่เดิมที่เน้นการขายไปสู่การเป็นพื้นที่แห่ง
การให้ประสบการณ์ และมีการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ จึงเป็นหนทางหนึ่งซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.
นภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย. (2563). พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: พาต้าปิ่นเกล้า เอ็มบีเคเซ็นต์เตอร์ จัตุรัสจามจุรีสแควร์ และเทสโก้โลตัสพระราม 1. สาระศาสตร์, 69(1), 183-195.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดผู้สูงวัยขุมทองของ SME ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). สถานการณ์และ แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556-2573. กรุงเทพฯ: กระทรวงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ประชากรสูงอายุอาเซียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักนโยบายและแผนสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2558). ก้าวสู่สังคมสูงวัยไอเดียดีโอกาสมา. กรุงเทพฯ: บริษัทโคคูน แอนด์ โค จำกัด.
CBInsights. (2019). Emerging Retail Trends in 2019. New york: CBInsight.
Cognizant. (2018). Retail’s Next Frontier. United States of America: Cognizant.
Chuprina, R. (2019). Artificial Intelligence for Retail and Marketing in 2019. Research Gate, 278(1874), 135-168.
Deloitle. (2017). Global Powers of Retailing 2017. United Kingdom: Deloitte Touche Tohmatsu Limited.
Infosys. (2019). The Future of Shopping: How changing consumer habits are inspiring physical store transformation. India: Infosys Limited.
Joshi, N. (2019). 7 Types of Artificial Intelligence. United States of America: Forbes.
Krugsri Research. (2020). 2020-2022 Thailand Industry Outlook. Bankok: Bank of Ayudhya.
Lachut, S. (2019). Retail Trends Playbook 2020: Creating A Data-Driven, Intelligent Retail Model. United States of America: PSFK.
Marisela, R. (2016). Towards Future Customer Experience: Trends and Innovation in Retail. Foresight and STI Governmence, 10(3), 18-28.
Statista. (2017). E-commerce share of retail slaes. Retrieved December 15, 2021, Form http://www.statiata.com/statistics/.E-commerce%20share%20of%20retail%20slaes.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.