การจำแนกพหุปัจจัยของความวิตกกังวลในสถานการณ์ โรคระบาดรุนแรงของผู้นำชุมชน ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กันย์ธนัญ สุชิน สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์ สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ทิพวรรณ เมืองใจ สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จีรนันต์ ไชยงาม นอกซ์ สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การจำแนกพหุปัจจัย , ความวิตกกังวล , สถานการณ์โรคระบาดรุนแรง , ผู้นำชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความวิตกกังวล  ผลของเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ ประเภทของผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลในสถานการณ์โรคระบาดรุนแรง และ ศึกษาแนวทางในการลดความวิตกกังวลในสถานการณ์โรคระบาดรุนแรงของผู้นำชุมชน ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 312 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความวิตกกังวล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติในการวิจัยได้แก่ สถิติวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis: MCA) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ พบว่า การวิจัยความวิตกกังวลในสถานการณ์โรคระบาดรุนแรงของผู้นำชุมชนอยู่ในระดับสูง ตัวแปร เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ และประเภทของผู้นำ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวล ในสถานการณ์โรคระบาดรุนแรงของผู้นำชุมชน ได้ร้อยละ 23.6 มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .486 อีกทั้งพบว่า ผู้นำชุมชน เพศหญิง อายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไป มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สถานภาพสมรส และเป็นผู้นำชุมชนประเภทองค์กร การปกครองส่วนท้องถิ่น/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีความวิตกกังวลสูงที่สุด และมีแนวทางในการลดความวิตกกังวล ประกอบด้วย รับประทานอาหารที่มีสมุนไพร และตรงเวลาครบทั้ง 3 มื้อ ให้ครบ 5 หมู่ เมื่อวิตกกังวลให้พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง ลดการดูหรือการฟังข่าวที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด พูดคุยกับคนใกล้ตัว หากไม่สบายใจ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง และฝึกสติสมาธิ

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือดูแลจิตใจประชาชนำหรับผู้นำชุมชนและอสม. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/view.asp?id=66.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ.2563. (2563, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 52 ง. หน้า 13.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพุทธจิตวิทยา, 14(2), 138-148.

เข็มเพ็ชร เลนะพันธ์. (2563). สสส.หนุนกลไกสภาผู้นำชุมชน 46 จังหวัดรับมือโควิด-19. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.hfocus.org/content/2020/04/18989.

แจ่มจันทร์ กุลวิจิตร, เกศรา เสนงามม, เสาวนีย์ สารดิษฐ์ และ ภาวนา อำนวยตระกูล. (2548). ผลของการให้ข้อมูลประกอบภาพการ์ตูน และการสร้างสถานการณ์จำลองต่อความวิตกกังวลของเด็กวัยเรียนจากการเจาะเลือดทางหลอดเลือดดำ. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2560). ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจ ระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 25(1), 1-19.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จาก “ไวรัสโควิด-19”. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/finance stock/columnist/618563.

ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. (2563). ดูแลผู้สูงอายุอย่างไรในช่วงโควิด-19. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก: https://www.nakornthon.com/article/detail/ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในช่วงโควิด-19 โรงพยาบาลนครธน 2563.

ยง ภู่วรวรรณ. (2563). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การทำงาน. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=2.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์, 39(4), 616-627.

สุภารัตน์ ไผทเครือวัลย์ และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (มปป.). (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล และการจัดการความวิตกกังวลในช่วงวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9 (638-651). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อภิญญา อิงอาจ ณัฐพร กาญจนภูมิ และพรพรรณ เชยจิตร. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94-113.

อภิสมัย ศรีรังสรรค์. (2565). จิตแพทย์แนะ จัดการความเครียดรับมือ COVID-19 ไม่ให้ป่วยใจ. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.bangkokhospital.com/content/psychiatric-guidance-on-stress-management-trading-covid-19.

อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา. (2563). สช. ย้ำ ‘พลังชุมชน’ คือปราการด่านหน้าเอาชนะโควิด 19. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.nationalhealth.or.th/node/3065.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

สุชิน ก., จันท์พิพัฒน์พงศ์ ธ. ., เมืองใจ ท. ., & ไชยงาม นอกซ์ จ. . (2023). การจำแนกพหุปัจจัยของความวิตกกังวลในสถานการณ์ โรคระบาดรุนแรงของผู้นำชุมชน ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 263–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/258349