การพัฒนาการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงความปรารถนาและการขอร้องอย่างสุภาพในผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสระดับต้น

ผู้แต่ง

  • จารุกัญญ์ จิตรวงศ์นันท์ สาขาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลุค เงวียน สาขาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การขอร้อง, ความสุภาพ, ภาษาฝรั่งเศส, บริบทการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าการสอนเรื่องสำนวนที่ใช้ในการขอร้องและแสดงความปรารถนาอย่างสุภาพเบื้องต้นและการเปิดโอกาสให้ใช้สำนวนดังกล่าวซ้ำ ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนระดับต้นสามารถพูดขอร้องและแสดงความปรารถนาโดยเคารพบริบทการสื่อสารได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งมีวัตถุประสงค์สามประการ คือ 1) เพื่อสร้างหน่วยการเรียนรู้หัวข้อ “การขอร้องและแสดงความปรารถนาอย่างสุภาพ” 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหน่วยการเรียนรู้ฯ ทั้งนี้ได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 33 คน ซึ่งเป็นนิสิตวิชาโทภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยพะเยาที่เรียนวิชาการฟังและการพูดภาษาฝรั่งเศส 1 ภาคการศึกษาต้นปี 2564 เครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ หน่วยการเรียนรู้หัวข้อ “การขอร้องและแสดงความปรารถนาอย่างสุภาพ” และแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่าหลังจากเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ฯ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากแบบทดสอบก่อนเรียนโดยเฉลี่ย 6.81 คะแนน (ร้อยละ 42.21 ของคะแนนเต็ม) มีค่าความเชื่อมั่นที่ 97.2% (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.74) และพบว่าหน่วยการเรียนรู้ฯ ช่วยพัฒนาความสามารถในการขอร้องและแสดงความปรารถนาของผู้เรียนได้ด้วยดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.64 หรือ 64%

References

เกริก ท่วมกลาง & จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินธน์ นนทมาลย์, นริศรา เสือคล้าย, กัลวรา ภูมิลา, สุมิตรา อินทะ, ณัฐพงษ์ พรมวงษ์. (2564). การสำรวจปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 61–73.

ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติ สําหรับนักศึกษา วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย, 40(134), 41–54.

ปิยจิตร สังข์พานิช. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันแบบ 3P ประกอบแบบฝึกทักษะของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน (GETL1102) หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. การประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัย สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 14 (145–158).

พิไลพร สุขเจริญ, จุฬาลักษณ์ แก้วสุก, สุนันทา ลักษ์ธธิติกุล, เสาวพฤกษ์ ช่วยยก, ศิมาภรณ์ พวงสุวรรณ และ สุพัตรา ลักษณะจันทร์. (2564). ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 38(2), 224–231.

สว่าง วงศ์พัวพันธุ์. (2535). ไวยากรณ์ฝรั่งเศสฉบับดวงกมล. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สอางค์ มะลิกุล. (2551). ไวยากรณ์ฝรั่งเศส หลักไวยากรณ์และคู่มือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยวิชาภาษาฝรั่งเศส (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.

สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2556). การสอนภาษาฝรั่งเศสในฐานะภาษาต่างประเทศ: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2560). กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสระดับเริ่มต้น. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย, 40(134), 16–27.

สุพรรณี จันทน์คราญ. (2537). ความรู้ด้านวัฒนธรรมและการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 2(1), 41–46.

Abouda, L. (2004). Deux types d’imparfait atténuatif. Langue française, 142(2), 58–74.

Alcaraz, M., Braud, C., Calvez, A., & Cornuau, G. (2016). Édito: Méthode de français: niveau A1. Didier.

Anscombre, J.-C. (2004). L’imparfait d’atténuation: Quand parler à l’imparfait, c’est faire. Langue française, 142(1), 75–99. Form https://doi.org/10.3406/lfr.2004.6793.

Bae, J. A., & Park, D.-Y. (2013). L’enseignement de la politesse dans la classe de francais langue étrangère en Corée. Revue japonaise de didactique du français, 8(1), 60–73. Form https://doi.org/10.24495/rjdf.8.1_60.

Bertaux, L., Calvez, A., & Ripaud, D. (2019). Bonjour et bienvenue! Méthode de français A1.1. Didier.

Brown, P., & Levinson, S. C. (1987). Politeness: Some Universals in Language Usage. Cambridge University Press.

Burke, P. (1999). Les langages de la politesse. Terrain. Anthropologie & sciences humaines, 33, 111-126. Form https://doi.org/10.4000/terrain.2704.

Charaudeau, P. (1992). Grammaire du sens et de l’expression. Hachette éducation.

Charaudeau, P. (2014). Étude de la politesse, entre communication et culture. In A.-M. Cozma, A. Bellachhab, & M. Pescheux (Eds.), Du sens à la signification. De la signification aux sens. Mélanges offerts à Olga Galatanu, 137–154. Form http://www.patrick-charaudeau.com/Etude-de-la-politesse-entre.html.

Charaudeau, P. (2019). Grammaire du sens et de l’expression (Fac-similé de l’édition Hachette, Paris, 1992, relue et corrigée). Lambert-Lucas.

Conseil de l’Europe. (2001). Cadre européen commun de référence pour les langues: Apprendre, enseigner, évaluer. Form https://www.coe.int/fr/web/common-european-framework-reference-languages/home.

Goodman, R. I., Fletcher, K. A., & Schneider, E. W. (1980). The Effectiveness Index as a Comparative Measure in Media Product Evaluations. Educational Technology, 20(9), 30–34.

Holttinen, T. (2017). « Passe-moi le sel » vs « Pourriez-vous me passer le sel, s’il vous plaît ? » ‒ Le développement des stratégies de requête chez les apprenants finnophones de FLE. SHS Web of Conferences, 38, 00004. Form https://doi.org/10.1051/shsconf/20173800004.

Ivan, I. (1994). Lev S. Vygotsky. Perspective: Revue trimestrielle d’éducation comparée. Revue trimestrielle d’éducation comparée, 14(3/4), 793–820.

Jaimee-Aree, P. (2018). Analyse des interactions entre enseignant et apprenants en classe. Bulletin de l’ Association thaïlandaise des professeurs de français, 32(118), 46–59.

Kerbrat-Orecchioni, C. (2001). « Je voudrais un p’tit bifteck » La politesse à la française en site commercial. Les Carnets du Cediscor [En ligne], 7, 105–118. http://journals.openedition.org/cediscor/307. https://doi.org/10.4000/cediscor.307.

Kerbrat-Orecchioni, C. (2010). L’impolitesse en interaction. Lexis. Journal in English Lexicology, HS 2. Form https://doi.org/10.4000/lexis.796.

Kerbrat-Orecchioni, C. (2022). Les interactions en site commercial: Des interactions « polies ». In V. Traverso (Ed.), Les interactions en site commercial: Invariants et variations (105–137). ENS Éditions. Form http://books.openedition.org/enseditions/31010.

Lesot, A. (2018). L’essentiel: Pour mieux s’exprimer à l’écrit et à l’oral. Hatier Paris.

Meunier, C. (2017). Grammaire participative: Enseigner avec la contribution active des apprenants. BoD - Books on Demand.

Orféo. (n.d.). Retrieved September 5, 2022, From https://orfeo.ortolang.fr/?locale=fr.

Poisson-Quinton, S., Mimran, R., & Mahéo-Le Coadic, M. (Eds.). (2007). Grammaire expliquée du français: Niveau intermédiaire. CLE International.

Poisson-Quinton, S., Siréjols, E., Mimran, R., & Bruley, C. (2011). Amical: A1. CLE international.

Riegel, M., Pellat, J. C., & Rioul, R. (2009). Grammaire Méthodique du Français (4e ed.). Presses Universitaires de France.

Rossi-Gensane, N., & Ursi, B. (2020). Syntaxe et genre interactionnel: Le cas des interrogatives directes partielles dans les interactions commerciales. Langages, 219(3), 147–160. Form https://doi.org/10.3917/lang.219.0147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

จิตรวงศ์นันท์ จ., & เงวียน ล. . (2023). การพัฒนาการใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อแสดงความปรารถนาและการขอร้องอย่างสุภาพในผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสระดับต้น. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 97–129. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/257215