การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ (6 A to S Model)
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการนิเทศ , ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสําเร็จ (6 A to S Model)วิธีการวิจัยมี 4ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้น สู่ความสําเร็จ ขั้นตอนที่ 2 การยืนยันรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสําเร็จ (6 A to S Model)ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสําเร็จ (6 A to S Model)และขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสําเร็จ (6 A to S Model)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกระบวนการบันได 6 ขั้นสู่ความสําเร็จ (6 A to S Model)มี 5องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการนิเทศ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบข่ายการนิเทศ 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) เงื่อนไขความสําเร็จรูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษา และครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ สูงกว่า ก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ เท่ากับร้อยละ 52.25และมีความพึงพอใจที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ครูผู้สอนมีระดับการปฏิบัติเพื่อการยกระดับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนร้อยละเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 เท่ากับร้อยละ 9.14 โรงเรียนมีผลการทดสอบปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 อย่างน้อยร้อยละ 3 เท่ากับร้อยละ 76.64และผลการศึกษาความพึงพอใจของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
References
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตรชัย จูมวงศ์. (2558). รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ดารารัตน์ จันทร์กาย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด, สุวิมล โพธิ์กลิ่น และ ปรีชา สามัคคี. (2552). การพัฒนารูปแบบการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชฎาวรรณ พ่อสิงห์. (2557). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานตามมาตรฐานการดำเนินงานภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. พิจิตร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการดำเนินงานพลิกโฉมการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2550). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. The Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.