การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิเชษฎ์ จุลรอด ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภาณุ ปัณฑุกำพล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ออนโทโลยี, แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, แหล่งท่องเที่ยวในวัดและศาสนสถาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาออนโทโลยีเชิงความหมายของความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการรวบรวมแหล่งข้อมูลซึ่งเป็นต้นทุนที่มีอยู่ใน ศาสนสถานโดยใช้ทฤษฎีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1) การกำหนดความต้องการออนโทโลยี โดยการศึกษาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดจากหนังสือ ตำรา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาพฤติกรรมในการสืบค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด โดยการสำรวจจากแบบสอบถามพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่จำนวน 400 คนจากแบบสอบถามออนไลน์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคำสืบค้นโดยใช้ความถี่ ร้อยละเพื่อจับกลุ่มคำ ระยะที่ 2) การพัฒนาออนโทโลยีโดยใช้โปรแกรมโปรทีเจ (Protégé) ออกแบบคลาส กำหนดคลาสหลัก คลาสย่อย ลำดับชั้น คุณสมบัติ เพื่อสาร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละคลาส และระยะที่ 3) การประเมินออนโทโลยี แบ่งการประเมินเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบประเมินความเที่ยงตรงของการสร้างความสำพันธ์กันระหว่างคลาส และการประเมินข้อมูลการจัดกลุ่มทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ค่าการระบุนิยาม ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการพัฒนา พบว่ามีความเหมาะสม (ค่าคะแนนเฉลี่ย = 0.93) ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การจัดกลุ่มและการจัดลำดับของคลาสภายในออนโทโลยี (ค่าคะแนน = 1.00) การกำหนดชื่อความสัมพันธ์และคุณสมบัติของคลาส (ค่าคะแนน = 0.89) ความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหาของออนโทโลยีในภาพรวม (ค่าคะแนน = 1.00)

References

กรกนก สนิทการ. (2561). การศึกษาคุณลักษณะของสือประเพณีจองพาราและการนำไปใช้ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(1), 123-143.

กรรณิกา คำดี. (2558). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 175-191.

เขมิกา ธีรพงษ์. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการออกแบบประสบการณ์. ศิลปกรรมสาร, 13(1), 1-15.

จุฑาทิพย์ ไชยกำบัง และ กุลธิดา ท้วมสุข. (2560). การพัฒนาออนโทโลยีเชิงความหมายของความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 10(2), 1-15.

จุฑาภรณ์ หินซุย และ สถาพร มงคงศรีสวัสดิ์. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 20-58.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 39-46.

ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์. (2563). ระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอำเภอเขาค้อด้วยหลักการออนโทโลยี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(5), 514-522.

บุญส่ง สินธุ์นอก, พระสมุห์กฤติพิสิฐ กิตฺติธมฺโม, ฐิติวรรณ สินธุ์นอก และ ธวัญหทัย สินธุนอก. (2563). การวิเคราะห์ผลกระทบ จุดแข็ง และจุดอ่อนของการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย-ลาว. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 54-66.

พระจํานงค์ ผมไผ, ยุภาพร ยุภาศ และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). วัดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางลุ่มน้ำโขง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 158-170.

พระชยานันทมุนี, วรปรัชญ์ คําพงษ์, พระครูฉันทเจติยานุกิจ, พระปลัดนฤดล กิตติภทฺโท และ อรพินท์ อินวงค์. (2562). ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดและชุมชนในล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 315-331.

ยงยุทธ ชัยรัตนาวรรณ. (2557). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเที่ยวซ้ำของวัดห้วยปลากั้ง จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2(1), 64-72.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ กัญญากาญจน์ ไซเออร์ส. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ตามทัศนะของนักท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(22), 60-66.

วรงค์พร คณาวรงค์. (2557). การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. จาก http://sutir. sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/6067/2/Fulltext.pdf.

วิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2560). ออนโทโลยีกับการพัฒนาฐานความรู้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 47-58.

อิสรา ชื่นตา, จารี ทองคำ และ จิรัฏฐา ภูบุญอบ. (2558). การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับระบบให้คำแนะนำข้อมูลท่องเที่ยว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(1), 32-44.

Kessalee, P. (2000). Community Based Tourism Handbook. Bangkok: Tourism Projects to Life and Nature.

Nopket, C. (1999). A Community Based Tourism: The Starting Point of Sustainable Development. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.

Park, H., Yoon, A., and Kwon, H.C. (2012). Task Model and Task Ontology for Intelligent Tourist Information Service. International Journal of u- and e-Service. Science and Technology, 5(2), 43-58.

Srisa-ard, O. (1995). Validation of measuring tool by experts. Journal of Education Measurement Mahasarakham University, 1(1), 45-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-28

How to Cite

จุลรอด พ., & ปัณฑุกำพล ภ. (2022). การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทวัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(1), 320–337. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/255548