กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์เด็กในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • อัญสุรีย์ เทพสุธรรม สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • เอื้อมพร ทิพย์เดช สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

DOI:

https://doi.org/10.60045/thssr-2023-255414

คำสำคัญ:

กลวิธีทางภาษา , อุดมการณ์เด็ก , หนังสือเรียน

บทคัดย่อ

ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2551 เป็นแบบเรียนที่มุ่งสื่อความคิดและภาพลักษณ์ของเด็กที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ควรค่าแก่การปฏิบัติตามอันจะนำไปสู่การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ มี 3 ประการ คือ 1) เด็กดี คือสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ 2) เด็กดีเป็นสิ่งที่พึงประสงค์และเด็กไม่ดีเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ 3) ลักษณะพฤติกรรมของเด็กดีเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติและลักษณะพฤติกรรมของเด็กไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ ซึ่งการนำเสนอความคิดและภาพลักษณะดังกล่าวมีกลวิธีทางภาษา 8 กลวิธี ประกอบด้วย กลวิธีการเลือกใช้คำศัพท์ กลวิธีการใช้คำแสดงทัศนภาวะ กลวิธีการอ้างส่วนใหญ่ กลวิธีการใช้ประโยคแสดงเหตุผล กลวิธีการใช้กลวิธีเชิงวาทศิลป์ กลวิธีการใช้ความเชื่อที่มีอยู่ก่อน กลวิธีการใช้เสียงที่หลากหลาย และกลวิธีการใช้ชื่อเรื่อง ซึ่งกลวิธีทางภาษาดังกล่าว สื่อถึงอุดมการณ์เด็กดีและเด็กไม่ดีได้อย่างชัดเจน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ Discourse Analysis (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503-2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2544). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study of language. London: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-18

How to Cite

เทพสุธรรม อ., ทิพย์เดช เ. ., & วิวัฒนเศรษฐ์ เ. . (2023). กลวิธีทางภาษาที่สื่อถึงอุดมการณ์เด็กในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ระดับประถมศึกษาตอนปลาย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 1–26. https://doi.org/10.60045/thssr-2023-255414