ความเป็นไทยกับบทบาทการเป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมในการท่องเที่ยวไทย

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ คชินทร์ สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความเป็นไทย , การท่องเที่ยว , ทุนทางวัฒนธรรม , ทุนทางสังคม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอ “ความเป็นไทย” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำเสนอเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในฐานะบทบาทการเป็นทุนทางวัฒนธรรมผ่านการเป็นสินค้าและบริการ โดยมีทุนทางสังคมทำหน้าที่สนับสนุน เป็นบทความเชิงวิชาการที่มุ่งศึกษาข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยการศึกษาถึงที่มาและความหมายของความเป็นไทย วิเคราะห์นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว “ปีท่องเที่ยววิถีไทย” และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการนำทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมมาสร้างให้เป็น “ความเป็นไทย” จนกลายเป็นสินค้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย        

ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พยายามนำองค์ประกอบบางส่วนของทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมมาสร้าง “ความเป็นไทย” ผ่านกระบวนการเชิดชูคุณค่าเดิม ด้วยการดึงเสน่ห์และเอกลักษณ์ของสิ่งต่าง ๆ มาตีความและออกแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จนกลายเป็นคุณค่าใหม่ที่พร้อมให้นักท่องเที่ยวเลือกบริโภค สิ่งเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนทำให้กลายเป็น “ภาพแทนความเป็นไทย” ที่ได้รับการยอมรับในสังคม โดยมีทุนทางสังคม อันได้แก่พลังแห่งการปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ทำหน้าที่ส่งเสริมทุนทางวัฒนธรรมให้โดดเด่น และเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น แต่หากทุนทางสังคมไม่มีปฏิสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน ผลสัมฤทธิ์จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น ความสุข หรือเงินตราก็อาจไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ความท้าทายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อิงความหมายความเป็นไทย จึงอยู่ที่การทำความเข้าใจว่าจะดึงเสน่ห์จากทุนทางวัฒนธรรมใด มาใช้อย่างไรให้ลงตัวจนกลายเป็นคุณค่าใหม่ที่สอดคล้องกับคุณค่าเดิม และสะท้อนเอกลักษณ์ของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ อย่างแท้จริง บนฐานคิดที่ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากท่องเที่ยววิถีไทยไม่ได้มีเพียงความสำราญใจหรือความผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังแฝงความหมายและมีผลเชิงคุณค่าที่เกี่ยวโยงกับความรู้สึกนึกคิดของคนไทยด้วย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. สืบค้น 20 ธันวาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.

กิ่งแก้ว บัวเพชร. (2549). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. โทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คริส เบเกอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ณัชช์นนท์ ทองแพง. (2560). ภาพตัวแทนความเป็นไทยผ่านสติ๊กเกอร์ไลน์. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย วินิจจะกุล. (2547). “คำนำเสนอ” ใน นิธิเอียวศรีวงศ์. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุเสาวรีย์. กรุงเทพฯ: มติชน.

นภาภรณ์ อินโน. (2559). “ตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์” ได้เวลาแหวกขนบชุดประจำชาติ? โคมไฟจากหนังแกะลาย. วารสารอุตสาหกรรมสาร, 58(6), 23. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e3234 6220a000d.pdf.

นุชเนตร จักรกลม. (2559). ผ้าพันคอลายเครื่องปั้นบ้านเชียง. วารสารอุตสาหกรรมสาร, 58(6), 12-27. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e 32346220a000d.pdf.

เบญญาภา ศุภพานิชย์ และ อาแว มะแส. (2555). ทุนทางสังคมกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาตลาดคลองสวนร้อยปี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(20), 41-52. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/106904.

ประชา สุวรีรานนท์. (2554). ไทย ๆ อัตลักษณ์ไทย: จากไทยสู่ไทย ๆ. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2555). การท่องเที่ยวจากนโยบายสู่รากหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เมญาพิมพ์ สมประสงค์. (2538). ความคิดเห็นของผู้รับสารที่มีต่อแนวคิดเรื่อง “ความเป็นไทย” ในภาพยนตร์โฆษณาที่เน้นความเป็นไทยจากสื่อโทรทัศน์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธาวี จำเนียร. (2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์กรณีศึกษา การแสดงรำโทนนกพิทิด. วารสารราชพฤกษ์, 19(2), 1-12. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Ratchaphruekjournal/article/download/250722/171644.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2557). มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของ ปิ แอร์บร์ดิเออ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(1), 29-44. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.polsci-law.buu.ac.th/pegjournal/document/2-1/2.pdf.

วรา จันทร์มณี. (2561). บันทึกเรื่องราว ความทุกข์ของคนที่อยู่บ้านตัวเองไม่ได้. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/ThebestofOzone/posts/1670758266347712.

วีระ อำพันสุข. (2551). ความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ. (2556). ภาพตัวแทนของความเป็นไทย. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2013/menu-2013-apr-jun/514-22556-thai-portray.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2550). ประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน พ.ศ.2435-2535. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและพระราชกิจจานุเบกษา.

สินาด ตรีวรรณไชย. (2548). ทุนทางสังคม: ความหมายและความสำคัญ. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563, จาก https://prachatai.com/journal/2005/01/2262.

อุษา ศิลป์เรืองวิไล. (2559). ความเชื่อมโยงระหว่างการสื่อสารเรื่องค่านิยมหลักของไทย 12 ประการกับวัฒนธรรมไทย และอัตลักษณ์ในทัศนะของวัยรุ่นไทยภายใต้กรอบแนวคิดบนพื้นฐานแนวคิดการใส่รหัสและถอดรหัส ของสจวร์ต ฮอลล์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิรนเอเชีย, 6(3), 88-100.

MGR Online. (13 ตุลาคม 2558). “ตุ๊กตุ๊กไทยแลนด์” ได้เวลาแหวกขนบชุดประจำชาติ?. สืบค้น 18 พฤศจิกายน, จาก https://mgronline.com/live/detail/9580000114904.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-08

How to Cite

คชินทร์ พ. (2022). ความเป็นไทยกับบทบาทการเป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมในการท่องเที่ยวไทย. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 1–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/254210