แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถเครือข่ายธุรกิจดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สุดสันต์ สุทธิพิศาล สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพมหานคร 10250
  • เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพมหานคร 10250
  • ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร 10240
  • ฐาดินี พงษ์รูป วิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรุงเทพมหานคร 10100

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ดำน้ำลึก, เครือข่ายธุรกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายธุรกิจดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ พื้นที่วิจัยประกอบด้วย 1) เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี และ 3) เกาะราชา จังหวัดภูเก็ตสภาพการณ์ปัจจุบันของเครือข่ายธุรกิจดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน โดยพื้นที่เกาะเต่าเป็นเครือข่ายที่มีผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวสูงสุดในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านที่พักแรม ร้านอาหาร และธุรกิจอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีศักยภาพของระบบสาธารณูปโภคที่มีความได้เปรียบกว่าพื้นที่เกาะล้านและพื้นที่เกาะราชา ทั้งด้านการบริการของสถานพยาบาลและการรักษาความปลอดภัย ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของนักท่องเที่ยว และมีความจำเป็นสำหรับกิจกรรมดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพราะการดำน้ำเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และเหตุการณ์เสี่ยงภัยสูง ทั้งจากขั้นตอนการดำน้ำ สภาพแหล่งดำน้ำ รวมทั้งความผิดพลาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำน้ำลึกด้วย

แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายธุรกิจดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ 1) การใช้มาตรการทางสังคมนำการใช้มาตรการทางกฎหมาย 2) การสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเล 3) การสร้างมาตรฐานการจัดการกิจกรรมดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยว 4) การกำหนดและควบคุมนโยบาย ควรเป็นความร่วมมือและการผสานกำลังของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคชุมชน 5) การเร่งสร้างความตระหนัก การปลุกจิตสำนึกการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการสร้างองค์ความรู้และฐานมวลชน
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อทรัพยากรทางทะเล 6) การส่งเสริมการประกอบอาชีพผู้นำ
การดำน้ำของคนไทยให้เป็นมัคคุเทศก์หรือผู้นำการดำน้ำท้องถิ่น

References

กรมการท่องเที่ยว. (2552). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กรมการท่องเที่ยว. (2556). มาตรฐานกิจกรรมดำน้ำ (Diving Standard). กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556). ระบบฐานข้อมูลกลางและมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. <http://marinegiscenter.dmcr.go.th/> (สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม).

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2551). แนวทางและมาตรการสำหรับผู้ประกอบการในอุทยานแห่งชาติทางทะเล (การดำน้ำและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง). <http://www.dnp.go.th/Rules/seatrade_th.pdf> (สืบค้นเมื่อ12 สิงหาคม).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.

กัลยา วานิชบัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรรชนี เอมพันธุ์. (2557). แนวคิดและหลักการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวและนันทนาการ.<http://www.dpt.go.th/csp/images/stories/pdf/G_plan4/rcc_2557.pdf> (สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม).

ปรารถนา สถิตย์วิภาวี, พิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ, ศิราณี ศรีใส, ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม, ฉัตรภา หัตถโกศล และ ศุภากร รัชพงศ์. (2556). โครงการศึกษาการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการพื้นที่และทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

เมืองพัทยา. (2555). ข้อมูลเมืองพัทยา. <http://www.pattaya. go.th/city-information/เกี่ยวกับพัทยา/ข้อมูลเมืองพัทยา/> (สืบค้นเมื่ 5 กันยายน).

ลัฆวี ปรีชัย. (2557). การจัดการมูลฝอยบนเรือและท่าเทียบเรือจากกิจกรรมบริการท่องเที่ยวดำน้ำลึกบริเวณหมู่เกาะราชา ที่ขึ้นฝั่ง ณ ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุชาย วรชนะนันท์, ภาสิณี วรชนะนันท์, มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร และ วินัย พุทธกุล. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ศักยภาพการพัฒนาและแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างยั่งยืนในเขตพัทยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุพักตรา สุทธิสุภา. (2558). การรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาในรูปแบบสร้างสรรค์สีเขียวอย่างยั่งยืน: การศึกษาเบื้องต้นในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ “สถาปัตย์กระบวนทัศน์.

สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย. <http://secretary.mots.go.th/policy/download/SurvayAttitude2015/1InnerFinalReportAttitude2015.pdf> (สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. <http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf> (สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม).

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แหล่งดำน้ำที่สำคัญในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลราไวย์. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2557 – 2561). ภูเก็ต : งานวิเคราะห์นโยบายและแผน.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text (2nd ed.). Sydney: Hodder Education.

Jones E. and Haven-Tang C. (2005). Tourism SMEs, Service Quality, and Destination Competitiveness. Trowbridge: Cromwell Press.

Leiper, N. (1990). Tourism System: An Interdisciplinary Perspective. Palmerston North: Department of Management Systems, Massey University.

Mill, B. C., & Morrison, A. M. (Eds.). (2009). The Tourism System (6th ed.): Kendall Hunt Publishing.

Oram, M.B. (1999). Marine tourism. London: Routledge Publishers.

Ritchie B. and Crouch G. (2003). The Competitive Destination: A Sustainable Tourism Perspective. Massachusetts: CABI Publishing.

Robinson, P. (Ed.). (2012). Tourism : The Key Concepts. New York: Roudege.

ScubaBoard. (2011). Technical Versus Recreational SCUBA Diving: Why Is There a Need for Rules, Boundaries and Limitations? http://www.scubaboard.com (สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน).

United Nations. (2012). The Future We Want. http://www.un.org/disabilities/documents/rio20_ outcome_document_complete.pdf (สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-18

How to Cite

สุทธิพิศาล ส., เฟื่องแก้ว เ., บุญนำศิริกิจ ป., & พงษ์รูป ฐ. (2019). แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถเครือข่ายธุรกิจดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(2), 282–294. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/221930