การทดลองสร้างท่ารำไทยจากหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของลาบาน

ผู้แต่ง

  • นงนภัส ขจรมาลี สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร 10300

คำสำคัญ:

สร้างท่ารำไทย, หลักการเคลื่อนไหวร่างกาย, ลาบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองนำหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของลาบานมาสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยด้วยท่ารำไทยรูปแบบใหม่ อันตั้งอยู่บนพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย โดยมีขอบเขตการศึกษาจากท่ารำแม่บทเล็กเพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบในการสร้างท่ารำไทยรูปแบบใหม่ และศึกษาหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของลาบาน 8 ประการเพื่อนำไปใช้สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทย ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์  และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติ และใช้กลุ่มประชากรในงานวิจัย 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้แสดง 2) วิทยากรหลักลาบาน และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบคุณภาพผลงานสร้างสรรค์          

ผลการวิจัย พบว่า 1) ท่ารำไทยรูปแบบใหม่ในลักษณะท่าสำเร็จรูป มีแนวคิดในการออกแบบท่ารำด้วยการตีบท หรือเลียนแบบท่าธรรมชาติตามความหมายของคำกลอนแม่บทเล็ก โดยมีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะในร่างกายด้วยการจัดวางระดับ ทิศทาง และอิริยาบถของแขนและมือเป็นส่วนใหญ่ และใช้นาฏยศัพท์มาเป็นพื้นฐานในออกแบบท่ารำ ซึ่งยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ของท่ารำต้นแบบไว้  2) ท่ารำไทยรูปแบบใหม่ใช้การเคลื่อนไหวลักษณะการลื่นไหลเป็นพื้นฐานเคลื่อนไหวท่ารำให้มีความต่อเนื่อง โดยมีการเคลื่อนไหวลักษณะการลอยแทรกอยู่ในกิริยาของการวิ่ง การหมุน และเลียนแบบท่าทางของสัตว์ นอกจากนี้การเคลื่อนไหวลักษณะการแตะ การดัน การสะบัด และการบิดบีบ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวแสดงกิริยาท่าทางและเชื่อมท่ารำให้ไปสู่ท่าสำเร็จรูป แต่การเคลื่อนไหวในลักษณะการหวด ฟัน และการชกต่อย มีการใช้แรงเหวี่ยงในการเคลื่อนไหวมากกว่าลักษณะอื่นๆ ทำให้ท่ารำไทยรูปแบบใหม่ไม่มีความเรียบร้อย นุ่มนวล จึงถูกนำมาใช้น้อยกว่าลักษณะอื่นๆ 3) การแสดงสร้างสรรค์รำไทยด้วยหลักการเคลื่อนไหวร่างกายของลาบานเป็นการแสดงที่มีความงามทางท่ารำ การเคลื่อนไหวท่ารำ และการเคลื่อนไหวบนเวทีตลอดจนองค์ประกอบทางการแสดงมีความเหมาะสมกลมกลืน  นับได้ว่าการสร้างสรรค์งานวิจัยในครั้งนี้เกิดการแสดงสร้างสรรค์เชิงอนุรักษ์เพิ่มขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดทางการแสดง รวมถึงเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ต่อไป

References

ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์ 9 ตุลาคม 2561.

วิทยาลัยนาฏศิลป์. (2559). งานวิจัยสร้างสรรค์การแสดงชุด เทพเทวี. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2557). แสงทองส่องวัฒนธรรม : โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพ ประจำปี 2557. คณะศิลปศึกษา.

ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์. สัมภาษณ์ 9 ตุลาคม 2561.

เรวดี สายาคม. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์. สัมภาษณ์ 9 ตุลาคม 2561.

สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา สุภาไชยกิจ. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป. สัมภาษณ์ 9 ตุลาคม 2561.

อุดม กุลเมธพนธ์. (2556). นาฏยศัพท์ฉบับครูลมุล. เชียงใหม่ : สุเทพการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-18

How to Cite

ขจรมาลี น. (2019). การทดลองสร้างท่ารำไทยจากหลักการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายของลาบาน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(2), 180–189. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/221902