พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันข่าวสารของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • Thanakorn Pookorn สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์, เครือข่ายการเรียนรู้ออนไลน์, การรู้เท่าทันข่าวสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) กระบวนการของเครือข่ายการเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันข่าวสาร  3) ปัญหา วิธีการแก้ปัญหาและ 4) ข้อเสนอแนะของเครือข่ายการเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันข่าวสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 121 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 

            1) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา  ส่วนใหญ่นิยมเข้าใช้ Facebook.com ทุกวัน ๆ ละไม่ถึง 5 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อการติดตามข่าวสาร มีการแสดงความคิดเห็น อภิปรายในกลุ่มออนไลน์และกลับมาดูข่าวสารเป็นบางครั้ง โพสต์หรือแชร์ข่าวสารหรือพิจารณาข่าวสารเป็นประจำ เปลี่ยนเจตคติที่มีต่อข่าวสารเป็นบางครั้ง ทำให้เกิดความรู้และทันเหตุการณ์ ดาวน์โหลดข่าวสารเก็บไว้ โดยจัดอันดับความสำคัญของข่าวสาร และบอกต่อข่าวสารเป็นบางครั้ง

            2) กระบวนการของเครือข่ายการเรียนรู้ออนไลน์เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันข่าวสาร มีดังนี้ 2.1) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารที่ต้องรู้จากเว็บไซต์ Facebook.com (เพจกลุ่มของรายวิชาที่อาจารย์ตั้งขึ้น) และ Wikipedia.com เลือกข่าวสารโดยพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้เขียน และแบ่งปันข่าวสาร ผ่านเว็บไซต์ Facebook.com 2.2) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารที่ควรรู้จากเว็บไซต์ Youtube.com เลือกข่าวสารตามความสนใจส่วนตัว และแบ่งปันข่าวสารผ่านเว็บไซต์ Facebook.com 2.3) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารที่น่ารู้จากเว็บไซต์ Youtube.com เลือกข่าวสารโดยพิจารณาความมีชื่อเสียงของเว็บไซต์ และแบ่งปันข่าวสารผ่านเว็บไซต์ Facebook.com

            3) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา มีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่แก้ปัญหาโดยดูข่าวสารจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกข่าวสาร และพิจารณาข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนแบ่งปัน 

            4) ส่วนใหญ่เสนอแนะให้เพิ่มเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและมีแหล่งอ้างอิง เพิ่มเว็บไซต์สำหรับการเรียนรู้ให้มากขึ้น และใช้วิจารณญาณในการเลือกข่าวสาร

References

จันทร์จิรา ขุนวงศ์. (2556). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล ศิระวงษ์. (2561). การศึกษาทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 96-105.

ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2561). YouTube เผย คนไทยฟังเพลง-ดูทีวีย้อนหลังมากสุด 75% เข้าทุกวัน. The standard, จาก https://thestandard.co/youtube-thai-listen-to-music-watch-tv-most/.

พรทิพย์ กิมสกุล. (2553). พฤติกรรมการใช้ยูทูปและประเด็นจริยธรรมทางข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(4), 99-103.

พิมพ์สุรีย์ พงษ์เสือ. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (MIL) ในยุคดิจิทัล, จาก http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/45645a27c4f1adc8a7a835976064a86d/_a4ca3ce89880d7e3d6b06912d23f2f68.pdf.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2557). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557,จาก http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18643-thailand-internet-user-profile-2014.

แอนณา อิ่มจำลอง และวิไลวรรณ จงวิไลเกษม. (2556). การใช้เฟซบุ๊คเป็นช่องทางการสื่อสารการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 7(2), 75-93, จาก http://www.dpu.ac.th/commarts/journal/upload/ issue/t4X8ZoN6xw.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-06

How to Cite

Pookorn, T. (2019). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันข่าวสารของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 9(1), 216–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/210890