กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมธุรกิจสีเขียวในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม, ปัจจัยผลักดันและขัดขวาง, ผลลัพธ์จากการจัดการสิ่งแวดล้อม, โรงแรมธุรกิจสีเขียวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขั้นตอนกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม 2) ศึกษาปัจจัยผลักดันและขัดขวางกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม และ 3) วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมธุรกิจสีเขียวในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษาครั้งนี้ รวบรวมได้จากบุคลากรจำนวน 23 คนของโรงแรมธุรกิจสีเขียวในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ คือ The International Hotel Chiang Mai YMCA และนอกเขตตัวเมืองเชียงใหม่ คือ Panviman Chiang Mai Spa Resort โดยใช้การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ นำข้อมูลที่รวบรวมได้วิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสถิติพรรณนาในรูปของการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษา พบว่า โรงแรมทำการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับมาตรฐานโครงการโรงแรมธุรกิจสีเขียว การวางแผนงานที่ดีและเหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติงานภายในโรงแรม โดยการดำเนินธุรกิจของโรงแรมได้ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ถึงแม้ว่าเกิดปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่สามารถแก้ไขปรับปรุงโดยทำการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และดำเนินงานได้ตามมาตรฐานของโครงการโรงแรมธุรกิจสีเขียว ส่วนผลด้านเศรษฐกิจนั้นสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำได้มาก ด้านสังคมทางโรงแรมได้ช่วยชุมชนใกล้เคียงไม่ให้ได้รับมลพิษที่เกิดขึ้น และทางกายภาพของโรงแรมนั้น โรงแรมเกิดความร่มรื่นเพิ่มขึ้น และยังมีทัศนียภาพที่ดีและสะอาด เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ
คำสำคัญ: กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยผลักดันและขัดขวาง ผลลัพธ์จากการจัดการสิ่งแวดล้อม, โรงแรมธุรกิจสีเขียว
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2559). ข่าว. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จาก http://thai.tourismthailand.org/
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2559, จาก http://www.deqp.go.th/service-portal/g-green/greenhotel/
ฐานเศรษฐกิจ. (2559). อสังหาฯ‘เชียงใหม่’โตต่อเนื่อง ทำเล-ราคาตอบโจทย์-ที่ดินเหนื่อย/จับตาปี 60 บิ๊ก ทุนฮุบตลาด. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2559, จาก http://www.thansettakij.com/content/56804
ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2553). เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารสุทธิปริทัศน์. 24(73), 169-184.
พัทธ์ธีรา สมทรง. (2560). MGT 3201 บทที่ 6 การพิชิตปัญหาและ อุปสรรคในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ajarnben&month=15-08-2009&group= 12&gblog=32.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และกนกพร วงศ์วีระไพบูลย์. (2558). รูปแบบความสำเร็จและกลยุทธ์การจัดการธุรกิจโรงแรมสีเขียว เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ผาปกอีโค่รีสอร์ท อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. 1, 411-414.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และงามตา เสี้ยจันทร์บริบูรณ์. (2558). รูปแบบความสำเร็จและกลยุทธ์ในการจัดการ โรงแรมสีเขียว กรณีศึกษา ไม้แก้วดำเนินรีสอร์ท อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. 1, 411-414.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และสยุมพร นุชโพธิ์พันธ์. (2558). กลยุทธ์การจัดการโรงแรมสีเขียว กรณีศึกษา โฮมพุเตย ริเวอร์แควรีสอร์ท อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี, วารสารการประชุมวิชาการด้านการจัดการระดับชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์“วลัยลักษณ์วิจัยทางการจัดการ”. 4, 122-132.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559, จากhttps://www.kasikornresearch.com/th/K-EconAnalysis/Pages/Search.aspx
อุษณีย์ ทิมสูงเนิน และปิยะดา วชิระวงศกร. (2558). การประเมินบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการประเภทโรงแรมในจังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 "งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. 207-213.
Crompton, J. (1979). Motivations of pleasure vacations. Annals of Tourism Research, 6(4), 408-424.
Robinot, E. & Giannelloni, J. (2010). Do hotels “Green” attributes contribute to customer satisfaction? Journal of Services Marketing. 24(2), 157 – 169.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.