องค์ประกอบของนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2558

ผู้แต่ง

  • เยาวภา มูลเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

องค์ประกอบของนวนิยาย, รางวัลซีไรต์ , นวนิยาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของนวนิยายที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2558 ทั้ง 9 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดด้านองค์ประกอบของนวนิยาย ซึ่งแบ่งออกเป็น โครงเรื่อง แนวคิด  ตัวละคร บทสนทนา ฉาก และท่วงทำนองแต่ง    ผลการศึกษาพบว่านวนิยายที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2558  ทั้ง 9 เรื่อง มีโครงเรื่องใหญ่ คือ มีโครงเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ   ตัวละครนำไปสู่โครงเรื่องย่อย ทำให้นวนิยายมีความสมบูรณ์ การนำเสนอแนวคิดมีลักษณะของแนวคิดสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบัน ตัวละครมีทั้งตัวละครมิติเดียวและตัวละครหลายมิติ โดยตัวละครหลายมิติจะเป็นตัวดำเนินเรื่อง ส่วนตัวละครมิติเดียวมีส่วนช่วยในการดำเนินเรื่องและช่วยสร้างความสมจริงให้แก่เนื้อเรื่อง บทสนทนามีความสมจริงสอดคล้องกับบุคลิกตัวละครและเหตุการณ์  ฉากมีการสร้างทั้งฉากจริงและฉากสมมุติ ฉากจริงมีความสมจริงบรรยายสถานที่สมจริง เห็นภาพชัดเจน ฉากสมมุติสร้างได้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในเรื่อง ท่วงทำนองเขียนมีการใช้ภาษาที่ดี  ทั้งบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และการใช้โวหารภาพพจน์ที่สร้างอารมณ์ ความรู้สึกเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้แก่เนื้อเรื่องและแสดงลักษณะเฉพาะตัวของผู้แต่งแต่ละคน

 

 

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2546). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เงาจันทร์. (2558). รักในรอยบาป. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์.

จเด็จ กำจรเดช. (2558). หรือเป็นเราที่สูญหาย. กรุงเทพฯ : ผจญภัย.

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์. (2556). พิพิธภัณฑ์เสียง. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ : แซลมอน.

เนตรทราย คงอนุวัฒน์. (2550). ศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยายของ วัฒน์ วรรลยางกูร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ปราบต์. ( 2558). กาหลมหรทึก. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปองวุฒิ. (2558). ประเทศเหนือจริง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ภณิดา จิตนุกูล. (2547). วิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการเสนอแนวคิดในเรื่องสั้นและนวนิยายของศิลา โคมฉาย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ภู กระดาษ. (2559). เนรเทศ. กรุงเทพฯ : มติชน.

มิ่งฟ้า พึ่งรัตนะมงคล. (2551). วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ : การวิเคราะห์ โครงเรื่องและกลวิธีการนำเสนอโครงเรื่อง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เยาวภา มูลเจริญ. (2558). การศึกษาเชิงวรรณศิลป์ในนวนิยายชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ โดย ณาราและคณะ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วนิดา บำรุงไทย. (2544). ศาสตร์และศิลป์แห่งนวนิยาย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิภาส ศรีทอง. (2558). หลงลบลืมสูญ. กรุงเทพฯ : สมมติ.

วิมลมาศ ปฤชากุล. (2542). การวิเคราะห์ตัวละครเอกในนวนิยายไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475-2488. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

วีรพร นิติประภา. (2559). ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : มติชน.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2555). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.

อุทิศ เหมาะมูล. (2558). จุติ. กรุงเทพฯ : มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-23

How to Cite

มูลเจริญ เ. (2019). องค์ประกอบของนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2558. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(2), 75–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/208160