กระบวนการการยอมรับนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 กรณีศึกษาชุมชนเนินฆ้อ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ศิริศักดิ์ พิเชษฐ์โกมล สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
  • อุ่นเรือน เล็กน้อย สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330

คำสำคัญ:

บทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ, นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100, นวัตกรรมสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในกระบวนการสร้าง นวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100และการทำให้เกิดการแพร่กระจายของนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 ในชุมชนเนินฆ้อ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างการยอมรับนวัตกรรมสังคมในชุมชน  โดยการวิจัยครั้งนี้จะใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเชิงคุณภาพโดยใช้การสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 และผู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100  ผลการศึกษาพบว่าในกระบวนการสร้างนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นผู้มีบทบาทหลักในการจุดประกายเพื่อให้มีการจัดสร้างบ้านปลาในรูปแบบใหม่เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยบทบาทของชุมชนเนินฆ้อจะเข้ามาร่วมเสนอความคิดเห็นและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสร้างนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 นอกจากนี้สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งที่ 1 ยังได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดจุดวางบ้านปลาที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำขนาดเล็ก  โดยพบว่าสาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเกิดการยอมรับในนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 มาจากการสร้างนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 เป็นการแก้ปัญหาที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชน มีการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และยังสามารถแก้ไขจุดอ่อนของบ้านปลาในรูปแบบเก่า จนเป็นผลทำให้การแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำในชุมชนประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนกลับมาฟื้นตัว ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้มากขึ้นโดยเฉพาะชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงซึ่งได้ประโยชน์จากการจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดว่าชาวบ้านในชุมชนเกิดการยอมรับในนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 เกิดจากจำนวนชาวบ้านที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสร้างนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 มีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกปี

References

Bund, E., Hubrich, D., K., Schmitz, B., Mildenberger, G., & Krlev, G. (2013). European Commission –7th Framework Programme. Report on innovation metrics – Capturing theoretical, conceptual and operational insights for the measurement of social innovation. A deliverable of the project. The theoretical empirical and policy foundations for building social innovation in Europe (TEPSIE). Brussels: European Commission.

Kesselring, A., & Leitner, M. (2008). Soziale innovation in Unternehmen Study. Zentrum fur Soziale Innovation. Wien

Murray, R., Mulgan, G., & Caulier-Grice, J. (2008). How to innovate: the tools for social innovation. Retrived January20, 2017, from http://www.youngfoundation.org/research/news/generating-social-innovation-how-innovatetools- social-innovation.

Mulgan, G. (2006). The Process of Social Innovation. Tagore : Spring.

Roger, E. (1995). Diffusion of Innovations. New York : Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-27

How to Cite

พิเชษฐ์โกมล ศ., & เล็กน้อย อ. (2019). กระบวนการการยอมรับนวัตกรรมบ้านปลาจากท่อ PE 100 กรณีศึกษาชุมชนเนินฆ้อ จังหวัดระยอง. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(1), 208–228. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/206541