การพัฒนาตราสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ มั่งคั่ง
  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
  • พิชญาพร พีรพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
  • วิสุทธิ์ สุขบำรุง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
  • นิยดา รักวงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
  • สมเกียรติ จิระวงศ์เสถียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000

คำสำคัญ:

การพัฒนาตราสินค้า, ตราสินค้า, ทุเรียนหลงลับแล, บ้านด่านนาขาม, การรับรู้คุณค่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการพัฒนาตราสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตราสินค้าทุเรียนหลงลับแลของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลจากตราสินค้า ของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มของแกนนำหรือสมาชิกชมรม คนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30 คน และการใช้แบบสอบถามเพื่อทดสอบการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลจากตราสินค้า จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคทุเรียนหลงลับแล จำนวน 400 คน โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสามารถสรุปกระบวนการพัฒนาตราสินค้าทุเรียนหลงลับแลของชมรม คนรักทุเรียนบ้านด่านนาขามได้ 6 ขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การระบุกลุ่มเป้าหมายไปจนถึง การบริหารคุณค่าตราสินค้า เพื่อให้ตราสินค้าได้ดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จะให้ความสำคัญในเรื่องภาพลักษณ์ตราสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้และเป็นการสร้าง ความพึงพอใจให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีต่อตราสินค้า ผลการวิจัยการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลจากตราสินค้าของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 41 - 50 ปี มีรายได้ระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท ไม่รู้จักตราผลิตภัณฑ์ทุเรียน หลงลับแลที่เป็นของจังหวัดอุตรดิตถ์ ต้องการคุณสมบัติของตราสินค้า คือ มีการรับคืนสินค้ากรณีไม่มีคุณภาพ และต้องการความน่าเชื่อถือของตราสินค้า คือ ตอบสนองความต้องการได้มากกว่าที่คาดหวัง ซึ่งในทัศนคติของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีการรับรู้ถึงสิ่งที่ตราสินค้าได้บริหารคุณค่าตราสินค้าทั้ง 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การตระหนักค่าตราสินค้า ผลการวิจัยพบว่า จะเน้นตราสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุด รองลงมาคือ สามารถจดจำตราสินค้าทุเรียนหลงลับแล และน้อยที่สุดคือ เคยพบ/เห็น ตราสินค้าหรือโลโก้ของทุเรียนหลงลับแล 2) ด้านการรับรู้คุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า คนขายทุเรียนสุภาพและเอาใจใส่ลูกค้า (แกะทุเรียนให้) มากที่สุด รองลงมาคือทุเรียนหลงลับแลถือเป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุตรดิตถ์ และน้อยที่สุดคือการผลิตทุเรียนหลงลับแลที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 3) ด้านการเชื่อมโยงตราสินค้า ผลการวิจัยพบว่า รสชาติของทุเรียนหลงลับแล ทำให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ มากที่สุด รองลงมาคือการติดตราสินค้าสามารถบ่งบอกถึงผู้ผลิตทุเรียนหลงลับแลได้ และ น้อยที่สุดคือผู้บริโภคเลือกซื้อทุเรียนหลงลับแลที่มีสติ๊กเกอร์ติดทุกครั้ง 4) ด้านความภักดี ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคจะยังคงรับประทานทุเรียนหลงลับแลต่อไปเรื่อย ๆ แม้ราคาจะแพงมากที่สุด รองลงมาคือผู้บริโภคจะแนะนำให้คนอื่นไปซื้อทุเรียนหลงลับแล และน้อยที่สุดคือ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุเรียนหลงลับแลส่งผลต่อการสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค

References

การประชุมโครงการ ศึกษาและพัฒนาการจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบของเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.

ณัฐพล ลิ้มรังสรรค์. (2551). อิทธิพลของตราสินค้าที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพาในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

พิริยะ แก้ววิเศษ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการสร้างตราสินค้าและความจงรักภักดีในตราสินค้าของลูกค้าธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธวัช วุฒิกาญจนธร. (2548). กระบวนการสร้างตราสินค้ากับการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อตราสินค้าของบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2553). การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามนโนบายของสภามหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สิรินทิพย์ สุขกล่ำ. (2558). การสร้างตราสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นไทย:กรณีตราสินค้า PATINYA.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสรี วงษ์มนมณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด.

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. กรุงเทพฯ : บริษัท เลิฟ แอนด์ลิฟ จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และปณิศา มีจินดา. (2554). การบริหารตราเชิงกลยุทธ์และการสร้างคุณค่าตรา. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์และศุภร เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จํากัด.

อาทิตย์ ก่อเกิดพาณิชย์. (2550). การศึกษาคุณค่าตราสินค้าและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาสในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-27

How to Cite

มั่งคั่ง ก., เขตปิยรัตน์ ภ., พีรพันธุ์ พ., สุขบำรุง ว., รักวงษ์ น., & จิระวงศ์เสถียร ส. (2019). การพัฒนาตราสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าทุเรียนหลงลับแลของชมรมคนรักทุเรียนบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(1), 274–298. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/206318