รูปแบบการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • อรุณีย์ พรหมศรี สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นิสิตกายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

รูปแบบการคิดเป็นคำที่ใช้ในด้านจิตวิทยาด้านพุทธิปัญญาที่อธิบายถึงวิธีการที่บุคคลคิด รับรู้ และจดจำข้อมูล โดยรูปแบบการคิดแตกต่างจากความสามารถหรือระดับทางสติปัญญา ซึ่งการวัดรูปแบบการคิดมิใช่การวัดความฉลาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับแบบการคิดของนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2556 นิสิตกายภาพบำบัดจำนวน 147 คน ถูกขอให้ตอบคำถามของแบบวัดรูปแบบการคิด โดยข้อมูลรูปแบบการคิดถูกวิเคราะห์และแสดงเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แบบพึ่งพา แบบอิสระ และแบบร่วมพัฒนา ผลการศึกษา พบว่า นิสิตกายภาพบำบัดมีรูปแบบการคิดแบบร่วมพัฒนา (ร้อยละ 72.90) และแบบอิสระ (ร้อยละ 27.10) และไม่มีนิสิตคนใดมีรูปแบบการคิดแบบพึ่งพา นอกจากนี้ รูปแบบการคิดของนิสิตกายภาพบำบัดไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและอายุของนิสิตกายภาพบำบัด

References

เกศแก้ว ชื่นใจ. (2547). สมรรถภาพพื้นฐานทางสมองและลักษณะบางประการที่ส่งผลต่อระดับการคิดแท้จริงของผู้เรียน [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Evans C, Cools E, Charlesworth ZM. (2010). Learning in higher education - how cognitive and learning styles matter. Teaching in Higher Education;15(4):467-78.

จิราภา เต็งไตรรัตน์, นพมาศ อุ้งพระ, รัจรี นพเกตุ, วารุณี ภูวสรกุล, ศรีเรือน แก้วกังวาล, ศันสนีย์ ตันติวิท และคณะ. (2554). วิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพยวรรณ กิตติพร. (2542). จิตวิทยาทั่วไป (General psychology). พิษณุโลก: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Witkin HA, Moore CA, Goodenough DR, Cox PW. (1977). Field-dependent and Field-independent cognitive styles and their educational implications. Review of Education Research;47(2):1-64.

เอมอร กฤษณะรังสรรค์. (2545). รายงานวิจัย เรื่อง รูปแบบการคิดของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: The East-West Psychological Science Research Center.

พระราชบัญญัติ วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547: ราชกิจจานุเบกษา; 22 ตุลาคม 2547.

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2555). หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

Cools E, van den Broeck H. (2007). Development and Validation of the Cognitive Style Indicator. Journal of Psychology;141(4):359-87.

สุธีร์ อินต๊ะประเสริฐ, เบญจลักษณ์ มณีทอน, ณรงค์ มณีทอน. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 48(4):231-8.

ศิริวรรณา สุขสว่างผล. (2541). ผลของวิธีเสนอให้เรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนของการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กุลนิดา เต็มชวาลา, สุวรรณี พุทธิศรี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมปลาย (คะแนน O-NET และคะแนนกสพท.) ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย;57(3):295-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02

How to Cite

พรหมศรี อ. (2019). รูปแบบการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(3), 2–8. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/200504