พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
สื่อสังคมออนไลน์, การใช้สื่อสังคมออนไลน์, พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์, เครือข่ายสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทัศนคติและความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตลอดจนปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ชั้นปีที่ 1-4 ภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2/2557 และภาคการศึกษาที่ 1/2558 (AEC) จำนวน 20,176 คน ใช้สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 คน สำรองแบบสอบถามชำรุดหรือเสียหายร้อยละ 5 คิดเป็นจำนวน 20 คน รวมจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 412 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – test และค่า one way ANNOVA
ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบว่านิสิตร้อยละ 91.9 มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและร้อยละ 89.22 มีสมาร์ตโฟน นิสิตร้อยละ 71.32 เมื่อหยิบสมาร์ตโฟนจะใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งแรก นิสิตร้อยละ 50 ใช้งานเฉลี่ยมากกว่าวันละ 5 ชั่วโมง นิสิตร้อยละ 72.06 ใช้เพื่อการสนทนาหรือแสดงความคิดเห็น นิสิตใช้สื่อสังคมออนไลน์ทำกิจกรรมทั่วไปและกิจกรรมด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนทัศนคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่านิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาร้อยละ 51.04 เคยใช้โซเชียลมีเดียขณะเรียนหนังสือโดยไม่รู้สึกเสียสมาธิ นิสิตมีทัศนคติต่อสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการได้รับความสนุกสนานมากที่สุด ส่วนปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากที่สุด เช่น ทำให้ตาพร่ามัว ปวดคอ ปวดหลัง ปวดหัว
การวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่านิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาเพศชายกับเพศหญิงมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เพศหญิงมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาสูงกว่าเพศชาย นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาเพศชายกับเพศหญิงมีทัศนคติต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีชั้นปีต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีชั้นปีต่างกันมีทัศนคติต่อสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน
References
ลฎาภา ยอดขุนทด. โซเชียลเน็ตเวิร์กอาวุธการตลาด. โพสต์ทูเดย์ 30 ตุลาคม 2557; หน้า B4.
สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 Thailand Internet User Profile 2014. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2557.
คอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม ภัยร้ายในยุคสังคมก้มหน้า. เดลินิวส์ . 23 ตุลาคม 2557; หน้า 8.
สมศักด์ โล่เลขา. ทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา : อันตรายจากการใช้เครือข่ายสังคมทางอินเทอร์เน็ต. มติชน. 7 มีนาคม 2558; หน้า 21.
ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์. เด็ก-วัยรุ่นยุคใหม่ใช้ชีวิต ‘ติดจอ’. มติชน. 3 เมษายน 2558, หน้า 26.
สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558 Thailand Internet User Profile 2015. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; 2558.
Pew Research Internet Project. Social media update 2014. Available from http://www.foothillspresbytery.org/wp-content/uploads/sites/175/2015/07/Social- Media-Site-Usage-2014-_-Pew-Research-Centers-Internet-American-Life-Project.pdf Accessed May 4, 2016.
Deniz M, Geyik S. An Empirical Research on General Internet Usage Patterns of Undergraduate Students. Procedia - Social And Behavioral Sciences [serial on the Internet]. (2015, July 3), [cited July 1, 2016]; 195(World Conference on Technology, Innovation and Entrepreneurship): 895-904. Available from: ScienceDirect.
Skemp K. Facebook. Salem Press Encyclopedia [serial on the Internet]. (2016, January), [cited July 1, 2016]; Available from: Research Starters.
อภิชัย อารยะเจริญชัย และวรัษยา สุนทรศารทูล. การวัดและการประเมินผลการใช้เฟซบุ๊ก. รังสิตสารสนเทศ 2557; 2: หน้า 66-95.
กมลณัฐ โตจินดา. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ Social Network ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
กุลนารี เสือไพโรจน์. พฤติกรรมการสื่อสารของวัยรุ่นในพื้นที่สาธารณะบนเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. ใน ชุมชนศึกษากับทรัพยากรมนุษย์ (หน้า 94-114). นนทบุรี: ศูนย์สหวิทยาการชุมชนศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2558
นฤมล รอดเนียม, จำเป็น เกิดดำ และวนิดา พูลนวล. รายงานการวิจัย เรื่อง การใช้เฟซบุ๊กที่มีผลกระทบต่อลีลาชีวิตของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. ชุมพร: สถาบันการพลศึกษา; 2556 15. วรากรณ์ สามโกเศศ. มารยาทโทรศัพท์มือถือและสมาร์ตโฟน. ได้จาก
http://www.dpu.ac.th/upload/content/files/varakorn_ article /vs2-57-09-30.pdf สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2558.
วอลช์, จอห์น. แปดรื่องที่ผมเสียดายว่าไม่มีใครบอก ใน วิชาสุดท้าย 2. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: openbooks; 2554
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย; 2543.
____________. สมาธิฐานสู่สุขภาพจิต และปัญญาหยั่งรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศยาม; 2539.
ศุภชัย รัตนมณีฉัตร. โรคในออฟฟิศ. ได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=711 สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2559.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานดิ์. แนะใช้เฟซบุ๊กไลฟ์เพื่อความรู้แทนมุ่งบันเทิง. คม ชัด ลึก 2 พฤษภาคม 2559; หน้า 9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.