ผลของการฝึกอบรมด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีพี่สอนน้องที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนอักษรล้านนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การฝึกอบรม, กระบวนการเรียนรู้โดยวิธีพี่สอนน้อง, การอ่าน, การเขียน, อักษรล้านนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนอักษรล้านนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีพี่สอนน้อง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านวังช้าง (ธีรราษฎร์รังสฤษฏ์) จังหวัดแพร่ จำนวน 11 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านอักษรล้านนา แบบทดสอบความสามารถในการเขียนอักษรล้านนา และแบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการฝึกอบรมการอ่านและการเขียนอักษรล้านนา จำนวน 3 กิจกรรม ใช้เวลาจัดกิจกรรม 6 ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีพี่สอนน้องมีความสามารถในการอ่านและการเขียนอักษรล้านนาหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง; 2547.
สมหมาย แจ่มกระจ่าง. การบริหารและการจัดการโครงการฝึกอบรม. ชลบุรี: ภาควิชาการศึกษานอกระบบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา;2548.
เทิน ศรีสุข. ผลการใช้ระบบการฝึก อบรมกระบวนการสั่งจิตใต้สำนึกของตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2537.
มยุรี หินคำ. การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง อักษรล้านนา สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่; 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.