การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ, การบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการของการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพความต้องการของการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า
- ผลการศึกษาสภาพความต้องการของการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพบว่า สถานประกอบการมีสภาพความต้องการทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการร่วมวางแผน ด้านการร่วมดำเนินการ ด้านการร่วมติดตามและประเมินผล
- ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบแล้วนำรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลการตรวจสอบรูปแบบพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
- ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การตัดสิน เช่นเดียวกับการประเมินรายข้อที่อยู่ในระดับมากขึ้นไป
References
จิณณวัตร ปะโคทัง. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2549.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
สำนักความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. คู่มือการทำความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ; 2549. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2552, จาก http://www.vec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2552, จาก http://www.onec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2552, จาก http://www.vec.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2552, จาก http://www.vec.go.th
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. แนวทางการบริหารและการจัดการในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี; 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.