การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • เสน่ห์ สายต่างใจ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • สมบัติ นพรัก วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
  • เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • สันติ บูรณะชาติ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและสภาพบริบทการบริหารเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การส่งเสริมการวิจัย และการพัฒนายุทธศาสตร์ และศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ศึกษาสภาพบริบทการบริหารเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่ประสบความสำเร็จจำนวน 3 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์สภาพบริบท ขั้นตอนที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำร่างยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 25 คน และ ตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์โดยการจัดสนทนากลุ่ม จากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความเหมาะสม และความสอดคล้อง จำนวน 12 คน

ผลการวิจัย พบว่า ยุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ประเด็น ได้แก่ 1) พัฒนาระบบการวางแผนการบริหารเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการจัดองค์การในการบริหารเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา 3) พัฒนาภาวะผู้นำการวิจัยของผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าวิชาการ 4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการควบคุมการบริหารเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และ 5) พัฒนาแนวทางการสนับสนุนงานบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยุทธศาสตร์ที่ได้ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาตรการและตัวชี้วัด มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และองค์ประกอบยุทธศาสตร์มีความสอดคล้อง

References

วิโรจน์ สารรัตนะ. กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์; 2556.

แผนพัฒนาการศึกษาของ สป. ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564). หน้า 5.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ. ศ. 2545-2549).

เบญวรรณ สกุลเนรมิต. การบริหารงานวิชาการอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสามัญ-ศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2545.

ประพันธ์ แม้วเวียงแก. การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2548.

อุทุมพร จามรมาน.การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟันนี่; 2544.

บัญชา อึ๋งสกุล. บทบาทของผู้บริหารที่มีต่อการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน. สารพัฒนาหลักสูตร.2539.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แนวทางการกระจายอำนาจบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศ จำกัด; 2550.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร; 2549.

วิชิต บุญเลิศ. ปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2543.

นงลักษณ์ วิรัชชัย, สุวิมล ว่องวาณิช และอวยพร เรืองตระกูล. การประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (อัดสำเนา). 2547.

วิภาดา คุปตานนท์. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2551.

จิราภรณ์ สพทานนท์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษาภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2552.

Park, J. E. A case study analysis of strategic planning in a continuing higher Education organization. Dissertation Abstracts International. (Volume 58-05). University of Pennsylvania. 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

How to Cite

สายต่างใจ เ., นพรัก ส., พานิชย์ผลินไชย เ., & บูรณะชาติ ส. (2019). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมการวิจัยของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 4(3), 69–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/198839