แนวคิดเกษตรกรรมที่ยั่งยืนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยววิถีเกษตร ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ ปัญญาพงศ์วัฒน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • ยุทธการ ไวยอาภา คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • วราภรณ์ ดวงแสง คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • มนสิชา อินทจักร คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, เกษตรกรรมที่ยั่งยืน, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรท่องเที่ยววิถีเกษตรแบบยั่งยืนในตำบลแม่ทา  อำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่ 2) ประเมินศักยภาพทรัพยากรท่องเที่ยวในตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อสำรวจรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีเกษตรอย่างยั่งยืนในตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือประชากรในหมู่บ้าน  ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรในหมู่บ้านตำบลแม่ทาซึ่งมีจำนวน 7 หมู่บ้าน จำนวน 70 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงในเนื้อหาและการทดสอบความเชื่อมั่น พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80  นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์เชิงลึกร่วมด้วย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและการศึกษาความคิดของกลุ่มประชากร ผลการศึกษาปรากฏดังนี้

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ที่ให้ข้อมูลส่วนมากเป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 47 ปี วุฒิการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับประถมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 8,896 บาท ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีถิ่นพำนักอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ทา ผลการวิจัยเกี่ยวกับสำหรับการสำรวจแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรแบบยั่งยืนบนแนวคิดและรูปแบบการเกษตรยั่งยืนในตำบลแม่ทา พบว่าความคิดเห็นรูปแบบพุทธเกษตรกรรมระดับความคิดเห็นว่ามีอยู่ในระดับที่มากที่สุด และผู้ให้ข้อมูลส่วนมากมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการเกษตรอยู่ในระดับความคิดเห็นว่ามีอยู่ในระดับที่มาก การประเมินศักยภาพทรัพยากรท่องเที่ยวในตำบลแม่ทา พบว่า ศักยภาพในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรมีศักยภาพในระดับสูง  ศักยภาพด้านการจัดการของทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรมิติความเป็นเจ้าบ้านมีศักยภาพในระดับปานกลาง มิติด้านการตลาดมีศักยภาพในระดับสูง ศักยภาพด้านการดึงดูดใจของทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรมีศักยภาพในระดับสูง และศักยภาพด้านการบริการการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรมีศักยภาพในระดับสูง  การสำรวจรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีเกษตรอย่างยั่งยืนในตำบลแม่ทา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวรวมไปถึงผลผลตทางการเกษตรสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวได้อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก รูปแบบตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมาก และรูปแบบการบริการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2007, 11 มิถุนายน). ศูนย์การเรียนรู้สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา. สืบค้นจาก http://www.moac.go.th

ตวงกาญจน์ วัฒน์บุณย์. (2552). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนอ่าวบ้านดอนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบล ยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ศีลธรรม และสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: มติชน.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2557, 10 มิถุนายน). ประวัติชุมชนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจากhttp://www.thaiichr.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=151&auto_id=8&TopicPk=93

ราเมศร์ พรหมชาติ. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาบ้านโปง ตำบลบ้านโปง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระพล ทองมาและคณะ. (2557). ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: (รายงานผลการวิจัย). คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้ายการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไทย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). เอกสารประกอบการอบรม โครงการเสริมสร้างเครือข่ายตำบลจัดการตนเองสู่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2542). เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2542 การพัฒนาที่ยั่งยืน: การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ: 2 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร.

ศิริพร พันธุลีและคณะ. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลแม่หล่ายอย่างมีส่วนร่วม. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อังศุมาลี ม่วงเกษม. (2556). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างความยั่งยืนของสหกรณ์ของสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

ปัญญาพงศ์วัฒน ร., ไวยอาภา ย., ดวงแสง ว., & อินทจักร ม. (2019). แนวคิดเกษตรกรรมที่ยั่งยืนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยววิถีเกษตร ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(1), 101–122. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197166