ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • กนกอร ไชยกว้าง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • พนายุทธ เชยบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, การบริหารงานบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ 2) ระดับการบริหารงานบุคคล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 289 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ โดยแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถาม
ประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามการบริหารงานบุคคล มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรมแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

2. การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง

References

กรมสุขภาพจิต. (2543). การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับประชาชนไทย อายุ 12-16 ปี. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

_______. (2546). สุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2545-2546. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ).

_______. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กฤติกา หล่อวัฒนาวงศ์. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพตามแนวคิกห้าองค์ประกอบเชาว์อารมณ์ตามแนวคิดของโกลแมนและความพึงพอใจในลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายขายของโรงแรมในกรุเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตรชัย เทพขจร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชูศรี วงศรัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ทศ คณาพร. (2551). 10 เหตุผลที่คนรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทเพรส.

ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธรรมรัตน์ ธรรมพุทธวงศ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นฤป สืบวงษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นุชรินทร์ แก้วประเสริฐ์. (2554). ความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอเรณูนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บำรุง นวลประจักร. (2552). พฤติกรรมการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2548). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

รัตนาวดี พิสัยสวัสดิ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วรวรรณ หงส์กิตติยานนท์. (2548). เชาว์อารมณ์ ความสามารถในการเผชิญและฝันฝ่าอุปสรรคและการรับรู้ รูปแบบการเรียนรู้ของพนักงานในโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้ที่ 4. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุรชัย ธรรมมา. (2550). สภาพและปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Bar-on, R. (1997). EQ-I: Bar-on Emotional Quotient Inventory. Toronto: Multi-HealthSystem.

Goleman, D. (1998). Working with Emotion Intelligence. New York: Bantam Book.

McClelland, S. B. (1994). "Training Needs Assessment Data-gathering Methods: Part 3, Focus Groups." Journal of European Industrial Training 18.

Mcclelland, S. B. (1994). "Training Needs Assessment Data-gathering Methods: Part 3, Focus Groups." Journal of European Industrial Training 18.

Salovey, P. & D.J. Mayer. (1997). Emotional Development and Emotional Intelligence. New York: Basic Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

ไชยกว้าง ก., คุณากรพิทักษ์ ป., & เชยบาล พ. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(1), 49–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197136