การพัฒนาสารานุกรมกว๊านพะเยาฉบับอิเล็กทรอนิกส์
บทคัดย่อ
ข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวกับกว๊านพะเยามีอยู่จำนวนมากทั้งข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และภูมิปัญญาของชุมชน แต่การจัดการข้อมูลของกว๊านพะเยายังไม่เป็นระบบ กล่าวคือข้อมูลนั้น ยังกระจัดกระจาย ยากต่อการสืบค้นและนำไปใช้ ซึ่งในปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีสามารถช่วยในการรวบรวมข้อมูล จัดหมวดหมู่ และสามารถพัฒนาข้อมูลเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้ข้อมูลกลายเป็นแหล่งสารสนเทศที่ดี และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้ ดังนั้น การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล และชุมชนกว๊านพะเยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ได้ค้นพบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ เพื่อนำมาสรุป รวมรวมและเรียงเรียง แล้วจัดทำเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นศูนย์กลางข้อมูลความรู้ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ เป็นประโยชน์ต่อชุมชนต่อไป ผลการวิจัยพบว่า
1) ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญของกว๊านพะเยาที่มีต่อรูปแบบและคุณภาพของเนื้อหาข้อมูลสารานุกรมฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เป็นผลมาจากการออกแบบเนื้อหา การออกแบบรูปแบบการสืบค้นข้อมูลในหน้าหลัก และด้านประโยชน์ในการใช้งาน
2) ความคิดเห็นของผู้ใช้งานที่มีต่อสารานุกรม โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก นอกจากนี้ผู้ใช้ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3) ความคิดเห็นของผู้ใช้งานจากการสำรวจออนไลน์(Online Survey) โดยสำรวจ ภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก และได้มีความคิดเห็นว่าเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติมที่หลากหลายมากขึ้น
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 2. สุวิริยาสาสน์; หน้า 100.
ภัคคิณี จัยพงศ์. (2554). การพัฒนาสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีวัฒนธรรมจีน. [วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา]: มหาวิทยาลัยนเรศวร; หน้า 110.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.; หน้า 168.
ศศิพร สุพงษ์. (2553). สารานุกรมพรรณไม้ท้องถิ่นในภาคเหนือภายใต้โครงการสวนพฤกศาสตร์โรงเรียน. [ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์]: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; หน้า 101.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. (ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; หน้า 50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.