ทัศนคติและการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของครูภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • คมกฤช ตาชม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สนิท ยืนศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

ครูภาษาอังกฤษ, ทัศนคติ, วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาทัศนคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) การทำวิจัยปฏิบัติในชั้นเรียน 3) ปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 4) ความคาดหวังในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจประชากร คือ ครูสอนภาษาอังกฤษสังกัดโรงเรียนเทศบาลเมืองลานนา (นามสมมติ) จำนวน 17 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้ง 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีทัศนคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.06)2) ครูมีการทำปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.24) 3) ครูมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.57) และ 4) ครูมีความคาดหวังในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.68) นอกจากนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้เกิดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ครูเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาชีพครู

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2550). ครูกับการใช้ประโยชน์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. การประชุมวิชาการ “การวิจัยในชั้นเรียน” ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550 (หน้า 1-11). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิตสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2550). ครูกับการใช้ประโยชน์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. การประชุมวิชาการ “การวิจัยในชั้นเรียน” ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550 (หน้า 19 - 24). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

บุญสิทธิ์ ไชยชนะ และคณะ. (2553). ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองด้านบทบาทครูวิจัยและสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อนักศึกษาครูในขั้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบเต็มรูป. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1, หน้า 42-55.

พีรวัฒน์ วงษ์พรม. (2553). สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษาที่ 10. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วัฒนา พัดเกตุ. (2548). การศึกษาเจตคติในการทำการวิจัย และปัญหาและอุปสรรคในการทำการวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1, หน้า 44-57.

วัลภา ภูริปัญญา. (2550). การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและกระบวนการบริหารของผู้บริหารเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทุมพร จามรมาน (มปป). การวิจัยของครู (Action Research). กรุงเทพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Todd, R., (2015). National-Level Educational Innovations in Thailand. Innovation in Language Teaching: The Thai Context. In P., Darasawang & H., Reinders (Eds). Innovation in Language Learning and Teaching. India: Palgrave Macmillan, pp. 18-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-21

How to Cite

ตาชม ค., & ยืนศักดิ์ ส. (2019). ทัศนคติและการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของครูภาษาอังกฤษ. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 6(1), 21–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196619