แนวทางส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่กระบุง ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่ว , อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ , กระบวนการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชน และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 2) สังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และ 3) นำเสนอแนวทางส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่กระบุง ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์วิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาสวัดต้นมะพร้าว ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่วจำนวน 14 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลรอง คือ หน่วยงานราชการในพื้นที่ จำนวน 4 คน และตัวแทนเยาวชนในชุมชน จำนวน 2 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง พื้นที่ศึกษาหมู่ที่ 2 บ้านแม่กระบุง ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ผลการวิจัยพบว่าบ้านแม่กระบุงเป็นหนึ่งใน 6 ชุมชนซึ่งอยู่ในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กระบุง คำว่า “แม่กระบุง” เป็นชื่อเรียกตามภูมิศาสตร์ของชุมชน ลักษณะของภูเขาที่ทอดตัวยาวตลอดแนวของตำบลมีลักษณะคล้ายกับกระบุงขนาดใหญ่ กลายเป็นชื่อเรียกชุมชนและตำบลต่อมาตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่ว ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากเขตอำเภอทองผาภูมิกว่า 100 ปี วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนมี ปัจจุบันอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่แสดงตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ด้านการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย 2) อัตลักษณ์ด้านการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน 3) อัตลักษณ์ด้านประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ 4) อัตลักษณ์ด้านการแต่งกาย 5) อัตลักษณ์ด้านอาหารการกิน 6) อัตลักษณ์ด้านการแสดง (รำตง) และ 7) อัตลักษณ์ด้านภาษา ด้านกระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นเพื่อทำ เพื่ออยู่ เพื่อสืบทอด ผ่านความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ การเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งการเรียนรู้ในการปรับตัวในแต่ละยุคเพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ โดยแนวทางส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่กระบุง ได้แก่ (1) หน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างความภาคภูมิใจผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนและเน้นการมีส่วนร่วมทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย (2) กลุ่มชาติพันธุ์ต้องสร้างจิตสำนึกตั้งแต่ระดับครอบครัว และให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในชุมชน ร่วมทั้งจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ของชุมชน (3) โรงเรียนในชุมชนควรสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนสอนในโรงเรียนและสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชน
References
ขวัญชีวัน บัวแดง Alexander Horstmann และ สมัคร์ กอเซ็ม. (2556). พื้นที่ทางศาสนาและการปรับสร้างอัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ : ศึกษากรณีกลุ่มชนกระเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2564). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นพรัตน์ ไชยชนะ และ วีระวัฒน์ อุดมทรัพย์ (2559). ลือกาเวาะ: วิถีการทํามาหากินกะเหรี่ยงโผล่วบ้านไร่ป้า ตําบลห้วยเขย่ง อําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 119–140.
นพรัตน์ ไชยชนะ อภิชาติ ใจอารีย์ และ ประสงค์ ตันพิชัย. (2564). กระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มอญ: กรณีศึกษาบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 256–278.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2561). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์บ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2562). อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มอญจากรุ่นสู่รุ่น: กรณีศึกษาบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.
(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นายว้ากอ (นามสมมติ) (สัมภาษณ์), 12 กันยายน 2564, นพรัตน์ ไชยชนะ (ผู้สัมภาษณ์).
บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2559). การเผชิญกับภาพแทนของกะเหรี่ยงโผล่วในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประคอง จุลสอน. (2557). รูปแบบกระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ชุมชน ผ่านเครือญาติญ้อ ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2548). ชื่อชุมชนนี้มีความหมาย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 24(1), 46–59.
มนตรี ศรีราชเลา. (2561). การเปลี่ยนแปลงการตั้งชื่อหมู่บ้านและอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่สะท้อนผ่านชื่อหมู่บ้านในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 112–123.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2551). ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภายในและสำนึกของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพวิริยะพันธ์.
สมเกียรติ สัจจารักษ์. (2554). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมทรง บุรุษพัฒน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, สุมิตรา สุรรัตน์เดชา, ปัทมา พัฒนพงษ์, ณรงค์ อาจ สมิติ และ พิเชฐ สีตะพงษ์. (2554). การใช้ภาษา ทัศนคติต่อภาษาและการท่องเที่ยวเชิง ชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสื่อ.
สมศรี ศิริขวัญ. (2541). การวิเคราะห์เชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษาชุมชนมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สนธิ เขียวเหลือง (สัมภาษณ์), 12 กันยายน 2564, นพรัตน์ ไชยชนะ (ผู้สัมภาษณ์).
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กระบุง. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 – 2565). กาญจนบุรี: งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กระบุง.
Chaichana, N., (2018). Modes of Production and Food Security in a Cultural Dimension: A Case Study of Pwo Karen Community in Ban Thiphuye, Chalae Sub-district, Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province, Thailand. Asian Political Science Review, 2(2), 24–32.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.