ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญา เพื่อยกระดับการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศานิตย์ ศรีคุณ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0000-0002-7629-5488
  • สุดาพร ติ๊บปาละ สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

วิธีการแบบเปิด, การฝึกเชิงพุทธิปัญญา, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเปรียบเทียบระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญา (กลุ่มทดลอง) และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (กลุ่มควบคุม) การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการสุ่มสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังเหนือวิทยาคม จังหวัดลำปาง จำนวนทั้งสิ้น 213 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เป็นนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 67 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญา และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 15 ข้อ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างตามเกณฑ์ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.816 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญากับกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมการแพทย์. (2559). คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดไร้สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

จินตนาภรณ์ วัฒนธร. (2554). บทบาทของสมองต่อการเกิดสมาธิ แรงจูงใจ การเรียนรู้ และความจำ. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1-2), 12-18.

ดนิตา ดวงวิไล, สุขิริณณ์ อามาตย์บัณฑิต และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2019). การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าสองคอน-แก่งเลิงจาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 75-92.

ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และ ยศวีร์ สายฟ้า. (2559). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-204.

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี. (2557). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการ การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นันทา ลีนะเปสนันท์, สุชาดา กรเพชรปาณี และปรัชญา แก้วแก่น. (2560). การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุสำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 1-23.

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2552). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 224701 รูปแบบการสอน. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงศ์พิชญ์ เฮ้าปาน และชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องดาวฤกษ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 15(1), 114-128.

พรสุดา อินทร์สาน และ กมล โพธิเย็น. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(2), 53-62.

รัตนะ บัวสนธ์, เอื้อมพร หลินเจริญ, นันทิมา นาคาพงศ์, ประภัสสร วงษ์ดี และ ยุพิน โกณฑา. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(3), 19-32.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556ก). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

วิจารณ์ พานิช. (2556ข). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). Open Approach วิธีประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 27 มีนาคม 2562, จาก https://bit.ly/2zJeEHi.

วิจารณ์ พานิช. (2559). สอนอย่างมือชั้นครู. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ และวิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์. (2553). สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัย. ขอนแก่น: หจก. ขอนแก่นการพิมพ์.

สุดาพร ติ๊บปาละ และ ศานิตย ศรีคุณ. (2562). การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืน ในวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2562 (413-423). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีดี คอนแทคท์.

สุลัดดา ลอยฟ้า. (2552). คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ โดยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

หฤชัย ยิ่งประทานพร, สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). รูปแบบการเรียนแบบคอนเน็คติวิสซึม ตามแนวคิดประสาทวิทยาศาสตร์ทางปัญญา บนแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์ คิด สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอารมณ์ก่อน ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 224-235.

อัครภูมิ จารุภากร. (2551). สมอง เรียน รู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม อัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้.

อัมราภรณ์ หนูยอด, นุชวนา เหลืองอังกูร และอรพิน พจนานนท์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(3), 206-215.

Anderson, O. R. (2009). Neurocognitive Theory and Constructivism in Science Education: A Review of Neurobiological, Cognitive and Cultural Perspectives. Neurocognitive Theory and Science Education, 1(1), 1–32.

Apaivatin, R., Srikoon, S. and Khemkhan, A. (2021). Effects of Research-based Learning Integrated with Cognitive Training for Enhancing Critical Thinking Skill. Journal of Physics: Conferences, 1835(012017), 1-6.

Hardiman, M. (2012). The Brain-Targeted Teaching Model for 21st Century Schools. United States of America: Corwin.

Inprasitha. (2010). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand-Designing Learning Unit. In Proceeding of the 45th National Meeting of Math Education (193-206). Gyeongju: Dongkook University.

Michelo, P. (2012). Max Your Memory: The Complete Visual Program. London: DK Publishing.

Puncreobutr, V., Morales, M, Dey, K and Dwiptendra, B. (2017). Correlation Between the Open Approach Teaching in Mathematics and the Critical Thinking of First Year Students of St. Theresa International College, Thailand. SSRN Electronic Journal, 1-11.

Srikoon, S. (2021). Effects of Research-based Learning Integrated with Cognitive Training for Enhancing Research Characteristics in Phayamengrai School. Social Science Asia, 7(2), 42-51.

Srikoon, S. Bunterm, T., Nethanomsak, T. and Ngang, T.K. (2018). Effect of 5P model on academic achievement, creative thinking, and research characteristics. The Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(3) 488-495.

Srikoon, S. Bunterm, T., Nethanomsak, T. and Ngang, T.K. (2017). A Comparative Study of the Effects of the Neurocognitive-based Model and the Conventional Model on Learner Attention, Working Memory and Mood. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 14(1), 83-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-28

How to Cite

ศรีคุณ ศ., & ติ๊บปาละ ส. (2022). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญา เพื่อยกระดับการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(1), 61–85. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/254285