หลงไฟ : การวิเคราะห์ตัวละครโดยใช้ทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ ของ อับราฮัม มาสโลว์

ผู้แต่ง

  • จิราวดี บุญปวง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ปาริฉัตร จันทัพ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ขวัญชนก - นัยจรัญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

หลงไฟ, ทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ, อับราฮัม มาสโลว์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมตัวละครในนวนิยาย เรื่อง หลงไฟ จำนวน 6 ตัวละคร ตามทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ ของ อับราฮัม มาสโลว์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และอธิบายผลการวิจัยโดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าตัวละครทั้ง 6 ตัว คือ ก้านแก้ว ชาลา กุญชร โชน อาวุธและเขียว มีความต้องการขั้นที่ 1 ความต้องการทางสรีรวิทยา คือ ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ส่วนขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย มีเฉพาะโชน ก้านแก้ว ชาลา กุญชรและอาวุธ เนื่องจากความมั่นคงปลอดภัยเป็นแรงจูงใจพื้นฐานของการดำรงชีวิต ขั้นที่ 3 ความต้องการเป็นเจ้าของ ความต้องการที่จะได้รับรักและรักผู้อื่น มีเฉพาะโชน ก้านแก้ว ชาลา อาวุธและกุญชร เนื่องจากตัวละครใช้ความรักเป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตใจ ขั้นที่ 4 ความต้องการมีศักดิ์ศรีจากตนเองและผู้อื่น พบตัวละครที่มีความต้องการในระดับขั้นนี้ คือ ก้านแก้ว ชาลา กุญชร และอาวุธ และขั้นที่ 5 ความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ มีเพียงชาลาและกุญชรเท่านั้นที่มีความต้องการถึงระดับขั้นนี้ อย่างไรก็ตามความต้องการของตัวละครที่แสดงออกล้วนเป็นไปตามลำดับขั้น และเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนองก็จะเลื่อนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น แต่เมื่อเผชิญกับความผิดหวังระดับขั้นความต้องการก็ลดลงมา จากผลการวิจัยนอกจากจะแสดงให้เห็นสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดและการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของตัวละครแล้ว ยังทำให้เกิดความเข้าใจในการแสดงพฤติกรรมต่างของมนุษย์ด้วย

References

กฤษณา อโศกสิน. (2554). หลงไฟ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เพื่อนดี.

จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 19(23), 12-37.

ยุวดี เนื่องโนราช. (2558). จิตวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

สมปราชญ์ วุฒิจันทร์. (2549). วิเคราะห์นวนิยายของนักเขียนสตรีไทยที่มีตัวละครเอกเป็นโสเภณี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อุไรวรรณ สิงห์ทอง และคณะ. (2561). การวิเคราะห์พฤติกรรมด้านมืดของตัวละครที่ปรากฏในนวนิยาย เรื่อง บ่วงหงส์ ของกิ่งฉัตร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (PROCEEDING) ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1028-1037.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-27

How to Cite

บุญปวง จ., จันทัพ ป., & นัยจรัญ ข. .-. (2019). หลงไฟ : การวิเคราะห์ตัวละครโดยใช้ทฤษฎีลำดับขั้นแรงจูงใจ ของ อับราฮัม มาสโลว์. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(1), 101–122. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/206365