การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม : แนวทางการพัฒนา
คำสำคัญ:
คุณธรรม จริยธรรม, การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมบทคัดย่อ
คุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งดีงามที่สังคมยอมรับ ซึ่งเกิดจากส่วนรวมและการศึกษา การปฏิบัติฝึกอบรม การกระทำจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยเป็นสิ่งที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น หลักการและทฤษฎีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมมีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญ 6 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะเป็นไปตามขั้น และขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลนั้น 2) กลุ่มแนวคิดจิตพิสัยเป็นกลุ่มที่มุ่งอธิบายพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลโดยมองว่า มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับคุณภาพของการเรียนรู้ด้านจิตใจ 3) กลุ่มแนวคิดพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับการให้การเสริมแรง 4) กลุ่มแนวคิดจิตพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาพฤติกรรม จริยธรรมของบุคคลโดยอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ จะให้ความสำคัญกับวิธีการกำหนดพฤติกรรมที่จะพัฒนารวมถึงขั้นตอน และวิธีการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่พบ 5) กลุ่มแนวคิดทางสังคมวิทยาก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยใช้กระบวนการขัดเกลาทางสังคมผ่านตัวแทนทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ พ่อแม่ ครู เพื่อน พระ และสื่อมวลชน เป็นต้น 6) กลุ่มแนวคิดทางศาสนาเชื่อว่าหลักธรรมคำสอนต่างๆ ทางศาสนาสามารถนำมาปฏิบัติเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาให้บุคคลมีจิตสำนึกและเจตคติที่ถูกต้องงดงาม สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ตามแม้แต่ละแนวคิดจะมีความเชื่อพื้นฐานรวมถึงวิธีการพัฒนาที่แตกต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาถึงกระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของบุคคลแล้วก็จะพบว่ามีลักษณะที่สอดคล้องกัน ส่วนแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนั้นเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตยพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของ สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้และอยู่ดีมีสุขส่วนรูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ได้ศึกษามา พบว่าแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยครอบครัว 2) รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยสถาบันศาสนา 3) รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยสถานศึกษาและ 4) รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมโดยชุมชน
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.19 ธันวาคม 2545. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก..
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). (2545). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ; พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.): หน้า 30.
กระทรวงวัฒนธรรม. (2550). โครงการยกย่องชูเกียรติบุคคลและสถาบันดีเด่นทางวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก http//www.m-culture.go.th: หน้า 10.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ; ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมการศาสนา. (2551). กรมการศาสนา. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กีรติ บุญเจือ. (2542). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช: หน้า 3-4.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2522). การพัฒนาจริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ ประสานมิตร: หน้า 3.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์อัมรินทร์: หน้า 10.
บุญมี แท่นแก้ว. (2538). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. หน้า 167.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). จริยธรรมทางวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: หน้า 3.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2538). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: หน้า 3.
Rest, J. (1969). Level of moral development as the determinant of preference and comprehension of moral judgments made by others. Journal of Personality, 37. p.6.
Brown, R. (1968). Social Psychology. New York: The Free Press. p.411-414.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ; มูลนิธิพุทธธรรม: หน้า 9.
สมบูรณ์ ชิตพงศ์. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ และการประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ; ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์: หน้า 6-7.
วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2552). จริยธรรมในเด็กและเยาวชน. วารสารพฤตกรรมศาสตร์, 15(1), หน้า 16-27.
Kohlberg, L. (1976). Moral Stage and Moralization: The Cognitive Development Approach. Moral Development and Behavior. Ed. by Thomas Lickona, New York : Holt Rinehart and Winston.
อ้อมเดือน สดมณี. (2557). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม 2557. หน้า 22.
Piaget, J. (1971). The Theory of Stages in Cognitive Development. In D.R. Green (Ed.), Measurement and Piaget. New York: McGraw-Hill.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2524). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 2 : จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรงเทพฯ; ไทยวัฒนาพาณิช: หน้า 29-30.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2541). รูปแบบปฎิสัมพันธ์นิยม (Interactionism Model) เพื่อการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรมและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. วารสาร ทันตาภิบาล, 10(2), หน้า 105-108.
Munn, N. L., Fernald, L. D., & Fernald, P.S. (1969). Introduction to psychology. (2nd ed.). Boston: Houghton Mifflin.
Bloom, L., & Selznick, P. (1968). Sociology. New York : Harper & Row.
งามตา วนินทานนท์. (2553). ชุดงานวิจัยเพื่อสร้างดัชนีคุณภาพชีวิตครอบครัวไทยและประยุกต์ใช้ผลวิจัย.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(1). หน้า 17-40.
ภัทรพร ศิริกาญจน. (2536). ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.