ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000
  • สันติ บูรณะชาติ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000
  • น้ำฝน กันมา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000
  • โสภา อำนวยรัตน์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา 56000

คำสำคัญ:

Factors, Academic administration, Learning management, Higher-order thinking skill

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบขั้นตอน (Stepwise Selection)

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มากที่สุด คือ ทักษะด้านมโนภาพของผู้บริหารโรงเรียน รองลงมา คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน คุณลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียนที่ส่งเสริมการคิด ความเชื่ออำนาจภายในตนเองของนักเรียน พื้นฐานครอบครัว สัมพันธภาพภายในครอบครัว พฤติกรรมการสอนของครูตามการรับรู้ของนักเรียน และบรรยากาศในการเรียนรู้ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .430, .277, .238, -.204, -.182, .121, .115 และ .097 ตามลำดับ

 

References

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). ร่างตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ปี 2559-2563 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน); 2557.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. การดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พศ.2552-2561). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาวิชาการและมาตรฐานการศึกษา; 2554.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพฯ; 2553.

Richard A. Gorton. School Administration and Supervision Leadership Challenges and Opportunities. 2nd ed. Dubuge: Wm. C.Brown; 1983.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด; 2547.

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์. ตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียน.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาตร์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.

ภิรดี วัชรสินธุ์ และคณะ. ผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบสอง (พ.ศ.2549-2553). รายงานการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สมศ. ประจำปีงบประมาณ 2555; 2555.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). วิกฤตการศึกษาไทยชี้ด้วย O-NET, I-NET, V-NET, U-NET, N-NET, GAT และPAT. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน); 2553.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา; 2553.

ทิศนา แขมมณี และคณะ, จิตวิทยาการสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุปแมเนจ, 2548.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. “การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน: การศึกษาพหุกรณี”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

Robert L. Katz, “Skills of an Effective Administration,” Harvard Business Review 33, 1 (January–February 1955): 22-42.

พระมหากานต์ ชาวดร. ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2548.

มนัส ปาละพันธุ์. ทักษะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

How to Cite

เถียรประภากุล ป., บูรณะชาติ ส., กันมา น., & อำนวยรัตน์ โ. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 3(3), 46–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/198986