การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาในการแปลชื่ออาหารไทย เป็นภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ:
โครงสร้างภาษา, การแปล, กลวิธี, ชื่ออาหารไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบกลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในภัตตาคารโรงแรมเขตพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสและ2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบกลวิธีการแปลชื่ออาหารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี โรงแรมรามา จังหวัดยะลาและโรงแรมธารา จังหวัดนราธิวาส เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลที่ใช้เพื่อเก็บข้อมูลการใช้รูปแบบโครงสร้างภาษาในการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้แปลใช้รูปแบบการแปล 7 วิธี คือ การแปลตรงตัว การเพิ่มคำ การตัดคำ การตัดคำและการเพิ่มคำ การตีความ การทับศัพท์และการแปลแบบอื่นๆ โดยพบการแปลแบบเพิ่มคำมากที่สุด และการแปลแบบทับศัพท์อยู่ในระดับที่น้อยที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงแรมแต่ละแห่งแปลรายการอาหารไทยในรูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยมีการเพิ่มคำเพื่อทำให้ผู้มาใช้บริการเกิดความเข้าใจในลักษณะอาหารแต่ละรายการให้มากที่สุด
References
ปรีมา มัลลิกามาส. (2551). การแปลกับการสอนภาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2548). การแปลขั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา ไล่ศัตรูไกล. (2543). จุดมุ่งหมาย หลักการ และวิธีการแปล=Nature and Method of Translation. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.