ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภัคพิยาพร คำบัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
  • ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

ความสุขของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสุขของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำแนกตามขนาดโรงเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำแนกตามขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี จำนวน 265 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความสุขของผู้บริหารเท่ากับ 0.95 และประสิทธิผลของโรงเรียนเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที่แบบอิสระและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน คำนวณโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความสุขของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{}gif.latex?\bar{x}=4.21, 4.22 และ 4.34) และค่า (S.D. = 0.39, 0.37 และ 0.40) และเปรียบเทียบความสุขของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามตามขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน
  2. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.30, 4.35 และ 4.39) และค่า (S.D. = 0.42, 0.41 และ 0.46) และเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามตามขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง (0.68**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสวนบุคคลการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โทนี บูซาน. (2549). ใช้หัวแข็ง. (นภดล จำปา และสมชาย มาตรปัญญาชน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ มิลเลนเนียม มายด์.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). ก. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป,คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นฤมล สุภาทอง. (2550). ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ทำการศึกษาเรื่อง ความสุขในการปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นนธวัฒน์ โปชะดา. (2557). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์
.
บุญเรือง ศรีเหรัญ. (2542). การศึกษาองค์ประกอบทางการศึกษาที่สัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้และประสิทธิผลของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบระดับชั้นลดหลั่นสอดแทรกเชิงเส้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

บุญเชิด ขำชุ่ม. (2547). การศึกษาการบริหารการจัดการศึกษาและประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

บุญชม ศรีสะอาด.(2553). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล แบบมาตราส่วนประมาณค่า. ได้จา: http://www.watpon.com/boonchom/trans.pdf. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560.

ประยงค์ ชูรักษ์. (2548). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเซท.

เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง. (2536). จิตลักษณะของผู้บริหารและสภาวการณ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของโรงเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พรรณิภา สืบสุข. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธ์เทพ ใจคำ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิริยะ ผลพิรุฬ. (2546). ได้ศึกษาความสุขกายสบายใจของคนพลเมือง.กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพ็ญพิชชา ตั้งมาลา. (2553). ความสุขในการทำงานของพนักงานกองบำรุงรักษากลาง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พยอม วงศ์สารศรี. (2541). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ คณะวิทยาการจัดการ สภาบันราชภัฎสวนดุสิต.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2547). ความรู้ท้องภิ่น การจัดการความรู้สู่การจัดการทางสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.

มนทิพย์ ทรงกิติพิศาล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุขกรณีนักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจลน์ โกษาแสง. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

วิรัตน์ มโนวัฒนา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.

สมชาย ศักดาเวคีอิสร. การพัฒนาเครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุข. วันที่ค้นบทคัดย่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560, เข้าถึงได้จาก www.jvkk.go.th/research/qrresearch.asp?code =01440007341; 2544.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สมบูรณ์ เพียรพิจิตร. (2548). การศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานสูตร ไพศาล.

อาคม สีพิมพ์สอ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

อุรพี กรศรีทิพา. (2549). วิถี 80/20 .การดำเนินชีวิตอย่างมีสุข. กรุงเทพฯ: เอ็กซปอร์เน็ต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

คำบัว ภ., พงษ์ภิญโญ พ., & คุณากรพิทักษ์ ป. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 5(2), 21–42. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/196680